ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านจอหอ ตำบลจอหอ อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุภาพ หวังข้อกลาง วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์

คำสำคัญ:

การป้องกันโรคไข้เลือดออก, ไข้เลือดออก, นักเรียน

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ  (Survey  Research)  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านจอหอ  ตำบลจอหอ  อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ  นักเรียนจำนวน 125 คน และเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม  (Questionnaire)  ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และปรับปรุงโดยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน

            ผลการศึกษาพบว่า  เป็นเพศหญิง จำนวน 72 คน  คิดเป็นร้อยละ 54.6  มีอายุ 10 ปี จำนวน 50 คน  คิดเป็นร้อยละ  27.0  ระดับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 49 คน  คิดเป็นร้อยละ 26.5  รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว  คือ  5,000 บาทต่อเดือน  จำนวน  43  คน   คิดเป็นร้อยละ  34.4   และครอบครัวของนักเรียน  ไม่เคยมีประวัติการรักษาโรคไข้เลือดออก  จำนวน  110 คน  คิดเป็นร้อยละ  88  มีความรู้อยู่ในระดับสูง จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 99.2 ทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 52.8  ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับดี จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 84.8  ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับดี จำนวน 71 คน  คิดเป็นร้อยละ 56.8  พฤติกรรมอยู่ในระดับดี  จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 74.4 และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ รายได้เฉลี่ยของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05

References

วัชระ กันทะโย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร. 9(2), 63-79.

วัชรพันธ์ แน่ประโคน. (2544). การป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อดุลย์ ฉายพงษ์ และสุกัญญา อินลักษณ์. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กวัยเรียน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี: โรงพยาบาลนาดี.

อุษณีย์ แขวงอินทร์. (2547). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์อร ประจันเขตต์. (2555). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักเรียนโรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก. วารสารแพทย์ทหารบก. 65(3), 159-165.

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023