ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • บุญนาค กระแสเทพ โรงพยาบาลบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้ยา, การรับรู้ด้านสุขภาพ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ที่มีรายชื่อตามทะเบียนรักษาโรคเบาหวานของ  คลินิกโรคเบาหวานของโรงพยาบาลบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2562  จำนวน 860 คน  ผู้วิจัยกำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณ  กลุ่มตัวอย่าง   ที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ   Daniel    ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  279  ราย  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง  แบบมีระบบ  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย  5  ส่วน  ได้แก่   คุณลักษณะส่วนบุคคล   ระบบบริการสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ   สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติและพฤติกรรมการใช้ยา   ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถาม   โดยแบบสอบถาม    ผ่านการตรวจสอบ   ความตรงตามเนื้อหา   จากผู้เชี่ยวชาญ   จำนวน  3  ท่าน   นำไปทดลองใช้   เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น   โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค    ได้ค่าความเชื่อมั่น    ของแบบสอบถาม    เท่ากับ    0.904 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

              ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ประกอบด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพ  การได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน   การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ    การได้รับการเยี่ยมบ้าน    การได้รับบริการหัตถการ    การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน  การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน  การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันภาวะแทรกซ้อน  การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันภาวะแทรกซ้อน แรงสนับสนุนภายในครอบครัว  และการใช้สมุนไพรและแพทย์ทางเลือก  ตามลำดับ  ปัจจัยที่สามารถทำนาย   พฤติกรรมการใช้ยา   ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่   2     ประกอบด้วย การใช้สมุนไพร    และแพทย์ทางเลือก    ( P-value  <  0.001 )     การได้รับการเยี่ยมบ้าน  (P-value < 0.001)  การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันภาวะแทรกซ้อน  (P-value = 0.006) มีผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพ   ( P-value  =  0.002 )   แรงสนับสนุนภายในครอบครัว (P-value = 0.005) การได้รับบริการหัตถการ (P-value = 0.040) ตามลำดับ ตัวแปรอิสระทั้ง  6  ตัว  ดังกล่าวนี้  สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ได้ร้อยละ 61.8 (R= 0.618)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวงปี 2566. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php.

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, กอบชัยพัววิไล. (2546). การวินิจฉัยและจำแนกโรคเบาหวาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ภัณฑิลา อิฐรัตน์. (2541). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. 21(3), 22-31.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). ระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศิริพันธ์ สาสัตย์. (2552). โครงการ การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สุมาลี วังธนากร, ชุติมา ผาติดำรงกุล และ ปราณี คำจันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. สงขลานครินทร์เวชสาร. 26(6), 539-547.

สูรชัย อัญเชิญ. (2543). การใช้ยาอย่างปลอดภัยโอสถสาระ 2000. จุลสารรวมสาระเรื่องยาเพื่อส่งเสริมบทบาทเภสัชกร. 1(3), 1-12.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ า. (2563). พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 8(3), 603-614.

อานนท์ แก้วบำรุง. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบไร้รอยต่อของคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 31(4), 745-756.

American Diabetes Association. (1997). Standards of Medical Care in Diabetes-2014. Diabetes Care. 37(1), S14-S80.

Beach, E. K., Moloney, B. H., and Arkon, O. H., (1992). The spouse: A factor in recovery after myocardial infarction. In Heart & Lung: Journal of Clinical Care. 1, 30-38.

Becker, Marshall H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Behavior. Health Education Monographs. 2, 324-508.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.

Gallant, A. R., Rossi, P. E., Touchen, G. E. (1992). Stock price and volume. Review of Financial Studies. 5(2), 199-242.

Pender. N. J., Walker S. N., Sechrist K. R., Strombory M. F. (1990). Predicting Health-Promotion Lifestyle In the Workplace. Nurs Res. 39(6), 326-32.

World Health Organization (WHO). (2009). Diabetes : Cost. http://www.who.int/dietphysicalactivity/publications/facts/diabetes/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023