ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีที่มีอายุ 35- 60 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสองยาง

ผู้แต่ง

  • ประภาพร คำแสนราช วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • รุ่งตะวัน เมืองมูล วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • กนกอร สมบัติ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ฤทัยรัตน์ บูรณะพันธ์

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อเอชพีวี (HPV)

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีที่มีอายุ 35-60 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสองยาง  กลุ่มตัวอย่างหญิงที่มีอายุ  35 - 60  ปี   จำนวน  76  ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล   เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป   และแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล     และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ    กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มตัวอย่าง       วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้    สถิติแจกแจงความถี่ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง  (ร้อยละ  100)  อยู่ในช่วงอายุ  30 - 39 ปี  (ร้อยละ  77.6)   นับถือศาสนาพุทธ  (ร้อยละ  80.3)  สถานภาพคู่  (ร้อยละ  78.9)  มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก  (ร้อยละ 78.9)  มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก (ร้อยละ   82.9)    มีการรับรู้ความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูก    (ร้อยละ   77.6)    มีการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแพพสเมียร์ (ร้อยละ 63.2) มีการรับรู้อุปสรรคในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ร้อยละ  57.9)  และมีการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  (ร้อยละ  63.2)

References

จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, กนกพร หมู่พยัคฆ์, ปนัดดา ปริยทฤฆ และ สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาใช้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชน. Journal of Nursing Science. 29(2), 82-92.

มณฑา เก่งการพานิช, สุพัตร์ตา งามด า และ ธราดล เก่งการพานิช. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดราชบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 43(2), 175-187.

เยาวเรส นันตา. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มแม่บ้าน ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 6(1), 65-74.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชนที่คัดสรร:จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ. 9(1), 12-20.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์และ กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2561). ดัชนีวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเพื่อการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และความตั้งใจใฝ่พฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 27(6), 1058-1068.

สุนิสา จันทร์แสง, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, ลักขณา เติมศิริกุลชัย และ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความต่อเนื่องในการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 27(1), 1-16.

สุพัตร์ตา งามด า. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ30-60 ปี ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023