ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พยงค์ ขุนสะอาด วิทยาลัยเชียงราย
  • เกวลี ดวงกำเหนิด วิทยาลัยเชียงราย
  • สุเวช พิมน้ำเย็น วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยนำ  ปัจจัยเอื้อ  ปัจจัยเสริม  และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง        และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง   ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่อ้อ    อำเภอพาน    จังหวัดเชียงราย  กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  229  คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่   ความถี่ ร้อยละ และสหสัมพันธ์แบบไควสแควร์ ผลการศึกษาการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาปัจจัยนำ พบว่าปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก ตามลำดับ เมื่อนำปัจจัยดังกล่าวมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง   พบว่า  ปัจจัยนำด้านความรู้ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่ม ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ

References

กัญญา ศรีอ้วน และคณะ. (2557). การศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชนเลือกสรร แขวงบุคคโล เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร. วารสารแพทย์นาวี. 41(2), 1-18.

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จิราวรรณ เจนจบ และ สุพัฒนา ค าสอน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกศกาสร อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนา (น. 1333-1343). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน” (น. 378-383). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สมคิด ทิมสาด. (2548). คู่มือการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. กรุงเทพฯ: กองเวชกรรมป้องกัน กรมแพทย์ทหารเรือ.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน และ นิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(1), 110-128.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023