ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การควบคุมระดับน้ำตาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายขอ งปัจจัย (คุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพของสถานบริการสา ธารณสุข การรับรู้ด้านสุขภาพ) ที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ป ระชากร คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยมีผลการตรวจระ ดับน้ำตาลในพลาสมาจากหลอดเลือดดำหลังอดอาหาร มากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรยืนยัน จำนวน 1,769 คน ที่มารับบริการในคลินิกโรคเบาหวานของสถานบริการสาธารณสุขเขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปีงบประมาณ 2559 โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ท ราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel จำนวน 330 ราย ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ และผลการตรวจระดับน้ำ ตาลในเลือด ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่ อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถด- ถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการควบ คุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วยสถานภาพสมรส, การรับประทานยาชนิดหลังอาหาร, การใช้ทั้งยาฉีดและยารับประทาน, กา รมาพบแพทย์ตามนัด, โครงสร้างกลไกการทำงาน, การติดตามประเมินผลการรักษาตามลำ ดับ สำหรับการมีโรคไขมันในเลือดสูง, การคุมอาหารเพียงอย่างเดียว และการรับรู้อุปสรรคของการรักษามีความสัมพันธ์ทางลบกับการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่ างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่สามารถทำนายการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย การรับประทานยาชนิดหลังอาหาร,การใช้ทั้งยาฉีดและยารับประทาน, การรับรู้อุปสรรคของการรักษา, โรคไขมันในเลือดสูง, การติดตามและป ระเมินผลการรักษา, การควบคุมอาหารทำนายได้ร้อยละ 17.6
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยพ.ศ.2554-2563. http://bps.ops.moph.go.th/THLSP2011-2020/index.html.
ณัฐธยาน์ ประเสริฐอ าไพสกุล. (2551). ปัจจัยท้านายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน ้าตาลในเลือดสูงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน ้าตาลในเลือด (วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทวดี ดวงแก้ว. (2551). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลกุ่มเสี่ยงโรงเบาหวาน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ละออ ชัยลิตร. (2557). การรับรู้ต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน. (2549). โครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานหลักสูตรพื นฐาน พ.ศ.2549. นครปฐม: เมตตาก๊อปปี้ปริ้น.
สุพัชยา วิลวัฒน์. (2551). ปัจจัยการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในญาติสายตรงของเบาหวานประเภท 2.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2559). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติรอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2558 (28-30 มกราคม 2558). http://www.pkto.moph.go.th/.
Becker, Marshall H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Behavior. Health Education Monographs.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.
Rosenstock. (1974). History origins of the health belief model: Health Education Monograph. World Health Organization (WHO).
http://www.who.int/dietphysicalactivity/publications/facts/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.