การศึกษาสมบัติทางกายภาพของกล้วยปิ้งโดยใช้ความร้อนจากรังสีอินฟราเรดไกล และการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของกล้วยปิ้ง

ผู้แต่ง

  • กมลศักดิ์ พลหนองคูณ
  • ภานุพงศ์ ปานแผน
  • ธนบดี ดีมอญ
  • สมหญิง พงศ์พิมล
  • ภูมิใจ สอาดโฉม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

คำสำคัญ:

กล้วยปิ้ง , การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส, รังสีอินฟราเรดไกล, สมบัติทางกายภาพ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพด้านสีและความแข็งของกล้วยปิ้งโดยใช้ความร้อนจากรังสีอินฟราเรดไกล  และประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของกล้ วยปิ้ง   โดยเครื่องปิ้งกล้วยหมุนที่ใช้ความร้อนจากรังสีอินฟราเรดไกลถูกควบคุมอุณหภูมิอา กาศที่ท่อทางออก 120  องศาเซลเซียส และความเร็วรอบหมุนของกล้วยปิ้ง 48 และ 12 รอ บต่อนาทีปิ้งกล้วยจนกล้วยมีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ  53 มาตรฐานเปียก  จากผลการทดลองพบว่า ความเร็วรอบหมุนของกล้วยปิ้ง 48 และ 12 รอบต่อนาที ไม่มีผลต่อค่าสี (ค่า L a และ b)  และค่าความแข็งของกล้วยปิ้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P>0.05)  กล้วยปิ้งที่จำหน่ายในท้องตลาดมีค่าความสว่าง (ค่า L) น้อยกว่า แต่มีค่าสีแดง (ค่า a) และค่าความแข็งมากกว่ ากล้วยปิ้งในงานวิจัยนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pgif.latex?\leq0.05) การประเมินคุณภาพทางประสา ทสัมผัสของกล้วยปิ้งพบว่า กล้วยปิ้งในงานวิจัยนี้มีคะแนนด้านสี ลักษณะปรากฏ กลิ่นรส เนื้ อสัมผัส (ความนุ่ม) และความชอบโดยรวมมากกว่ากล้วยปิ้งที่จำหน่ายในท้องตลาด โดยกล้ วยปิ้ง ในงานวิจัยนี้ได้รับคะแนนทางประสาทสัมผัสด้านความชอบโดยรวมอยู่ในช่วงความช อบปานกลางถึงความชอบมาก

References

แดนชัย เครื่องเงิน, กานดา พูลเพียร และพัชรี ทับทิมศรี. (2560). การเปรียบเทียบคุณภาพและประสาทสัมผัสของกล้วยน้าว้าที่อบด้วยอินฟราเรดสุญญากาศและอินฟราเรดร่วมกับลมร้อน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏก่าแพงเพชร.

เบญจมาศ ศิลาย้อย. (2558). กล้วย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณวิมล พุ่มโพธิ์, วิษณุวัฒน์ คนงาม, สุริยา หล้าบัววงค์, ภานุวัฒน์ อาวาส และภูมิใจ สอาดโฉม. (2563). การผลิตไก่อบโอ่งโดยใช้ความร้อนจากรังสีอินฟราเรดไกล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 14(2), 85 - 97.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). กินปิ้งย่าง อาหารรมควันบ่อย อันตราย. https://www.thaihealth.or.th/Content/30225-กินปิ้งย่าง%20อาหารรมควันบ่อย%20อันตราย.html.

อภิชาติ ศรีสอาด และศุภวรรณ์ ใจแสน. (2553). สารพันกล้วยยอดนิยม. กรุงเทพฯ : นาคาอินเตอร์มีเดีย.

Boudhrioua, N., Bahloul, N., Ben Slimen, I. and Kechaou, N. (2009). Comparison on the totalphenol contents and the color of fresh and infrared dried olive leaves. Industrial Crops and Products. 29(2-3), 412 - 419.

Chua, K. J. and Chou, S. K. (2003). Low-cost drying methods for developing countries. Trends in Food Science & Technology. 14(12), 519 - 528.

Glouannec, P., Lecharpentier, D. and Noel, H. (2002). Experimental survey on the combination of radiating infrared and microwave sources for the drying of porous material. Applied Thermal Engineering. 22(15), 1689 - 1703.

Vogt, M. (2007). Infrared drying lowers energy costs and drying times. Plastics, Additives and Compounding. 9(5), 58 - 61.

Wattanachant, S., Benjakul, S. and Ledward D.A. (2005). Effect of heat treatment on changes in texture, structure and properties of Thai indigenous chicken muscle. Food Chemistry. 93(2), 337 - 348.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-02-2023