ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ หมู่ 1 บ้านปะเคียบ ตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ หมู่ 1 ตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ หมู่ 1 ตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 96 คน เครื่องมือใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ที่มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 65.5 มีอายุระหว่าง 66-70 ปี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 28.1 สถานภาพสมรสจำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 59.4 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาทต่อเดือน จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 67.7 มีปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในระดับดี มีปัจจัยนำด้านทัศนคติ เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ (= 2.99; S.D=0.10) ปัจจัยเอื้อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี (= 2.76; S.D=0.42) ปัจจัยเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดี ( =2.78; S.D =0.50) และปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.99; S.D = 0.10) และพบว่าการมีโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ มีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05
References
กมล วิเศษงามปกรณ์ และวัชรี ศรีทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำบลไผทาโพ อำเภอโพธิ์ประทับชาง จังหวัดพิจิตร. https://northern. ac.th/north_research/.
กัลยา มั่นล้วน, วิภาดา กาญจนสิทธิ์และนิภา สุทธิพันธ์. (2562). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต าบลบ้านหนองโพรง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจ าปี พ.ศ.2562 (น. 889-897). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา.(วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และยุวดี รอดจากภัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ หมาวิทยาลัยบูรพา.
วัชรพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตาหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.