แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 192 คน โดยเก็บข้อมูลประชากรทั้งหมด ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 192 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือ ค่าเฉลี่ยโดยรวมคุณภาพ เครื่องมือทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 นำมาวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบ Pearson Product Moment Coefficient
ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับรู้ภาวะแทรกซ้อนต่อการเกิดโรคของผู้ป่วยเบาหวาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับรู้ประโยชน์ของ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และด้านการรับรู้อุปสรรคการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน
References
กรมควบคุมโรค. (2562). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานปี 2562. http://www.thaincd.com/2016/ news/hot-news-detail.phpid=13674&gid=18.
จุฬาภรณ์โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เจษฎากร โนอินทร์และคณะ. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ธรรญญพร วิชัย และคณะ. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในบ้านคานางรวย ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินช าราบ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นิติกุล บัวแก้ว และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายในกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ. (2536). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลบ้านท่าข้าม อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. 4(1), 191-204.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2536). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2561). ข้อมูลทั่วไปและสถานสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา ปี 2561. http://www.korathealth.com/korathealth/download/ attractfile/15154252023.pdf.
Anne Moen. (2019). Diabetes Self-Management Education (DSME) –Effect on Knowledge, SelfCare Behavior, and Self-Efficacy Among Type 2 Diabetes Patients in Ethiopia: A Controlled Clinical Trial. Diabetes MetabSyndrObes 2019. 12, 2489–2499.
Eun Jo Kim and Kuem-Sun Han. (2020). Factors related to self-care behaviours among patients with diabetic foot ulcers. Journal of Clinical Nursing. 9, 1712-1722.
Evi Karotac. (2020). Use of King's theory to improve diabetics self-care behavior. https://www.researchgate.net/profile/Evi-Karota/publication/340838978_Use_of_King's_theory_to_improve_diabetics_self-care_behavior/links/5efb95cca6fdcc4c
a44066ec/Use-of-Kings-theory-to-improve-diabetics-self-care-behavior.pdf.
Manfred Mayer, et al. (2019). Care management intervention to strengthen self-care of multimorbid patients with type 2 diabetes in a German primary care network: A randomized controlled trial. PLOS ONE. 14(6), e0214056.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.