ผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางด้านความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอล วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธนาคาร เสถียรพูนสุข วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วัชรากร หวังหุ้นกลาง วิทยาลัยนครราชสีมา
  • เอกอำนาจ เรืองศรี วิทยาลัยนครราชสีมา
  • อภิวัฒน์ วงษ์มี
  • ชาติชาย เทียนทอง
  • ณัฐวุฒิ แสนภักดี

คำสำคัญ:

การฝึกพลัยโอเมตริก, ความคล่องแคล่วว่องไว, นักกีฬาฟุตบอลวิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  ผลการฝึกพลัยโอเมตริก ที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอล   วิทยาลัยนครราชสีมา    เพศชาย   อายุระหว่าง 19 - 23 ปี  จำนวน 20 คน  และทำการสุ่มเข้ากลุ่มแบบสมบูรณ์  (Random  assignment) เพื่อแบ่งเป็น  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มทดลอง  10  คน  และกลุ่มควบคุม  10 คน โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริก 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการฝึก ทำการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวด้วยวิธีการทดสอบแบบอิลลินอยส์   (Illinois  Agility  run  test) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง   ด้วยค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ศึกษาก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่  8 ด้วยสถิติ  Dependent  sample t-test และ  Independent sample t-test  กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              ในการวิจัยครั้งนี้   พบว่า   ความคล่องแคล่วกลุ่มทดลองก่อนการฝึก  มีเวลาเฉลี่ย 17.224  ±  0.293 วินาที  และหลังการฝึก  มีเวลาเฉลี่ย  16.333  ±  0.399  วินาที  มีความแตกต่างกัน   และความคล่องแคล่วของกลุ่มควบคุมก่อนการฝึก   มีเวลาเฉลี่ย   17.422  ± 0.239  วินาที  และหลังการฝึก มีเวลาเฉลี่ย  17.056  ±  0.287  วินาที  มีความแตกต่างกัน (ประเมินจากการคำนวณหาค่าการทดสอบความคล่องแคล่วแบบอิลลินอยท์   หลังจากการฝึก  8  สัปดาห์)  กลุ่มทดลองมีเวลาเฉลี่ย 16.333  ±  0.399 วินาที กับกลุ่มควบคุม มีเวลาเฉลี่ย 17.056  ±  0.287  วินาที  มีความแตกต่างกัน 

References

จีรนันท์ โพธิ์เจริญ. (2549). ผลของการฝึกรูปแบบ เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬาเกตบอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2538). การปรับสภาพของกล้ามเนื้อในการฝึกความแข็งแรง. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2547). การฝึกและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกีฬา. กรุงเทพฯ: นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996) จำกัด.

นภารินทร์ ชัยงาม. (2552). ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬา

ฟุตบอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชิต ภูติจันทร์. (2547). วิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: บริษัท โอเดียนสโตร์ จำกัด.

มาลีรัตน์ มาลีเขียว. (2544). ผลการฝึกวิ่งรูปแบบตัว S และรูปแบบตัว Z ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาบัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยูโสบ ดาเต๊ะ. (2554). ผลการฝึกพลยัโอเมตริกที่มีต่อความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารวิชาการ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6(6), 101-112.

วิศาล ไหมวิจิตร. (2549). ผลของการวิ่งรูปแบบตัว Z และตัว S ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของ นักกีฬาฟุตซอลหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกกีฬาส าหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัย.

Brittenham, G. (1996). Athleticism for basketball. In Chapter 5 in complete conditioning for basketball (pp. 69-87). Illinois: Human Kinetics.

Costello, F., & Kreis, E. J. (1993). Introduction to agility. In Chapter 1 in sports agility (pp. 2-3). Nashville, TN: Taylor Sports.

Fleck, S. J., & Kraemer, W. J. (1987). Designing resistance training programs. Illinois: Human Kinetics.

Thomas, K., French, D., & Hayes, P. R. (2009). The effect of two plyometric training Techniques on muscular power and agility in youth soccer players. Journal of Strength & Conditioning Research. 23, 332-335.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023