การฝึกด้วยน้ำหนักตัวควบคู่กับพลัยโอเมตริกที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอล วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สาธิต สีเสนซุย วิทยาลัยนครราชสีมา
  • รัชตะ รอสูงเนิน วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ศิขริน ด่านยางหวาย
  • เศรษฐวัฒน์ วงศ์วีระพันธุ์
  • สุรศักดิ์ เขมะรัง

คำสำคัญ:

การฝึกด้วยน้ำหนักตัว, การฝึกแบบพลัยโมเมตริก, ความเร็ว, ความคล่องแคล่วว่องไว, กีฬาฟุตซอล

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยน้ำหนักตัวควบคู่กับพลัยโอเมตริกที่มีผลต่อความเร็ว        และความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอลของวิทยาลัยนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฟุตซอลสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา  วิทยาลัยนครราชสีมา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ  กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การฝึกด้วยน้ำหนักตัวควบคู่กับพลัยโอเมตริก  โปรแกรมฝึกฟุตซอลปกติ และแบบทดสอบสมรรถภาพด้านความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว      สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์    ได้แก่    ค่าเฉลี่ย    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม  (Dependent  Sample  T-test ) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (Independent Sample T-test ) ผลการวิจัย พบว่า

            1. สมรรถภาพทางกายด้านความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าลดลง

            2. สมรรถภาพทางกายด้านความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง   มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3. สมรรถภาพทางกายด้านความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว หลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม   พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกด้วยน้ำหนักตัวควบคู่กับการฝึกพลัยโอเมตริก สามารถพัฒนาความเร็ว และความคล่องว่องไงของนักกีฬาฟุตซอลให้ดีขึ้นได้

References

นรินทรา จันทศร. (2562). การพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวด้วยการฝึกพลัยโอเมตริก. วารสาร Humanities Social Sciences and arts. 12(5), 578-598.

พชร ชลวณิช และวันชัย บุญรอด. (2561). ผลของการฝึกเสริมความแข็งแรงของแกนกลางล้าตัว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและการทรงตัวในนักกีฬาเทนนิส. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 19(2), 97-108.

พิพัฒน์ ลิ้มเรืองกุล, นิรอมลี มะกาเจ และอภิลักษณ์ เทียนทอง. (2562). การเปลี่ยนแปลงด้านสมรรถภาพทางกายภายหลังการหยุดฝึกซ้อมระยะสั นในกีฬาฟุตซอล ระดับมหาวิทยาลัย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและนันทนาการ. 45(1).

ไพรัช คงกิจมั่น, นาทรพี ผลใหญ่ และณัฐิกา เพ็งลี. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อและทักษะกีฬาบาสเกตบอลของนักกีฬาบาสเกตบอลเยาวชนชายโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 45(1); 140-150.

วีระยุทธ กองวงษา และคณะ. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกความเร็วและความคล่องแคล่วโดยใช้การฝึกกับลูกฟุตบอล ของนักกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 45(2).

ไวพจน์ จันทร์เสม. (2562). ผลของการฝึกเสริมพลังกล้ามเนื อขาด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศควบคู่กับการฝึกความเร็วในการวิ่งบนเครื่องวิ่งแบบโค้งที่มีต่อเวลา ในการวิ่งระยะทางต่างๆ ในนักกีฬารักบี ฟุตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 20(2), 57-70.

สหรัฐฯ ศรีพุทธา. (2560). ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื อแกนกลางล้าตัวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตซอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ อนุนิวัฒน์, ทศพล ธานี และสาธิน ประจันบาน. (2562). ผลของการฝึกด้วย ที อาร์ เอ็กซ์ และการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกาย ที่มีต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื อ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 45(1).

อุมาริน หิรัญอร และสังเวียน ปินะกาลัง. (2558). ผลของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถในการเลี ยงลูกฟุตซอล ชั นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 9(4), 228-236.

Hoehn Elaine N. Marieb & Katja N. (2015). Human Anatomy & Physiology, Masteringa & pwith pearson Etext & Valueqack Access Caed, Brief Atlas of the Human Body, and Get Ready for A & P. Sanfrancisco: Pearson.

Jasdev Singh, Brendyn B Appleby and Andrew P Lavender. (2018). Effect of Plyometric Training on Speed and Change of Direction Ability in Elite Field Hockey Players. Sports (Basel). 6(4), 144.

Maamer, S. (2017). Data concerning the effect of plyometric training on jump performance in soccer players: A meta-analysis. Data in Brief. 17(15), 324-33.

Maya, C. B. (2017). Quality assessment of shoulder plyometric exercises: Examining the relationship to scapular muscle activity. Physical Therapy in Sport. 17(26), 27-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023