การบริโภคอาหารของผู้ที่ออกกำลังกายในฟิตเนส อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วันฉัตร โสฬส วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ณัฐธวัลย์ เพ็งแจ่ม วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วาสนา วิไลนุวัฒน์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ศญาดา ด่านไทยวัฒนา วิทยาลัยนครราชสีมา
  • นราวิชญ์ ซิวประโคน
  • จิราภรณ์ ซุยกระโทก
  • วัชระพงษ์ ์เสียดกระโทก
  • สาริน จันทาสูงเนิน

คำสำคัญ:

การบริโภคอาหาร, ผู้ที่ออกกำลังกาย, ฟิตเนส

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคอาหารของผู้ที่ออกกำลังกายในฟิตเนส อำเภอเมือง   จังหวัดนครราชสีมา   ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  เป็นผู้ออกกำลังกายในฟิตเนส  จำนวน 200 คน  การเก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถาม  วิเคราะข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive  Analysis) ใช้คำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน     ได้แก่     การแจกแจงความถี่   ( Frequency )    ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x})  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) โดยนำเสนอในรูปตารางประกอบการแปลความหมายเชิงบรรยาย  เพื่ออธิบายข้อมูลในด้านต่าง ๆ

            ผลการวิจัย   พบว่า   กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยรวม 15.68  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41  ด้านการปฏิบัติ ก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย   พบว่า   กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.08  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติระหว่างการออกกำลังกายอยู่ในระดับดี  (gif.latex?\bar{x} = 1.35 ,  S.D. = 0.57) คือข้อคำถามที่ว่าท่านดื่มน้ำระหว่างออกกำลังกายทุก ๆ   15 - 20   นาที    สรุปผลการวิจัย  พบว่า   ระดับของความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และการปฏิบัติก่อน ระหว่าง  และ หลังการออกกำลังกาย  อยู่ในระดับปานกลาง   แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ควรสนับสนุนในเรื่องของความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวการบริโภคอาหารในการออกกำลังกายที่เพิ่มมากขึ้น 

References

ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์. (2554). พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารของนักกีฬามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(3), 254-261.

เลิศศิริ เตโชอภิวัฒนกุล. (2550). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์กรมหาชน (สวก.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). คู่มือโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับนักกีฬาในประเทศไทย. https://www.arda.or.th/ ebook/file/foodsport.pdf.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ส านักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2548). โภชนาการการกีฬาทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

อนุกูล พลสิริ. (2551). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023