ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พิชัย พวงสด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พุฒิพงษ์ มากมาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  ของอาสาสมัครสาธารณสุขที่ประจำหมู่ บ้าน มีประชากรคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลปราสาททะนง ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  จำนวน 218 คน  โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Deniel เท่ากับ 116 คน  ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบก้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความรอบรู้ด้านสุขภา- พ  ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.932 ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัม ประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ การตัดสินในเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง การจัดการตน เองให้มีความปลอดภัย ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (96.55%) พฤติกรรมการป้อง กันและควบคุมโรคไข้เลือกออกมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (94.83%) ซึ่งผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  เขตอำเภอปราสาท จัง หวัดสุรินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.862, P-value<0.001)

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2546). แผนยุทธศาสตร์การด าเนินงาน สุขภาพภาคประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมฑ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรณิต แก้วกังวาน และคณะ. (2559). คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ชมพูนุช อนทศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออก [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สำนักระบาดวิทยา. (2558). รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ. กรมควบคุมโรค.

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). Manual: Community Health Volunteers Guide: Community Health Managers. http://www.nakhonphc.go.th /datacenter/doc_download/osm19356.pdf.

สำนักโรคติดต่อน าโดยแมลง. (2560). คู่มืออาสาปราบยุง (โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย). กรุงเทพฯ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

อัญชลี จันทรินทรากร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโ รคไข้เลือดออก (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศ าสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Becker, M.H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2: 324-473.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.

Bloom, BenjaminS., et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.

Daniel W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the HealthSciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-03-2023