การศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาอบโอ่งสำหรับการผลิตไก่อบโอ่งโดยใช้ความร้อน จากรังสีอินฟราเรดไกล และการประเมินทางประสาทสัมผัสของไก่อบโอ่ง
คำสำคัญ:
การประเมินทางประสาทสัมผัส, ไก่อบโอ่ง, ประสิทธิภาพเชิงความร้อน, รังสีอินฟราเรดไกลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาอบโอ่งสำหรับการผลิตไก่อบโอ่ง โดยใช้ความร้อนจากรังสีอินฟราเรดไกล และประเมินทางประสาทสัมผัสของไก่อบโอ่ง โดยใช้รังสีอินฟราเรด ไกลที่ 1,000 1,200 และ 1,400 วัตต์ อบไก่หมักมีมวล เริ่มต้นประมาณ 1,650 กรัม จนไก่อบมีมวลสุดท้ายต่ำกว่า 1,220 กรัม จากผลการทดลอง พบว่า การผลิตไก่อบโอ่งที่ระดับรังสีอินฟราเรดไกลสูงมีประสิทธิภาพในเชิงความร้อนของเตาอบโอ่ง มากกว่าการผลิตไก่อบโอ่งที่ระดับรังสีอินฟราเรดไกลต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ผลการประเมินทางประสาทสัมผัสของไก่อบโอ่ง พบว่า ไก่อบโอ่งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลที่ 1,000 วัตต์ มีคะแนนทางประสาทสัมผัสด้านสีเนื้อสัมผัส (ความนุ่ม)และความชอบโดยรวมมากกว่าไก่อบโอ่งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลที่ 1,400 วัตต์ และไก่อบโอ่งด้วยเตาถ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ไก่อบโอ่งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลที่ 1,200 วัตต์ ไม่มีความแตกต่างของคะแนนทางประสาทสัม ผัส ด้านสีลักษณะปรากฏ กลิ่นรส และความชอบ โดยรวมกับไก่อบโอ่งด้วยรังสีอินฟราเรดไกลที่ 1,000 และ 1,400 วัตต์ อย่างมีนัยสำคัญสถิติ (P>0.05)
References
กรมอนามัย. (2556). กรมอนามัย ชี้ 3 สารอันตรายจากอาหารปิ้ง ย่าง ร้ายเท่าควันท่อไอเสีย เตือนกินบ่อย เสี่ยงมะเร็ง. สืบค้นจาก https://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=5882.
ธีรศาสตร์ คณาศรี. (2559). การพัฒนาเตาอบย่างไก่ด้วยความร้อนจากพลังงานไฟฟ้า. การประชุมวิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4, 22-24 พฤศจิกายน 2559, บุรีรัมย์.
นิพนธ์ ภูวเกียรติกำจร. (2556). การประยุกต์ใช้เทอร์โมไซฟอนสำหรับประหยัดพลังงานในเตาอบไก่อบ.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ภูมิใจ สอาดโฉม. (2548). การจำลองทางคณิตศาสตร์ของการอบแห้งกล้วยหอมทองด้วยระบบสุญญากาศร่วมกับรังสีอินฟราเรดไกล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ภูมิใจ สะอาดโฉม , ธนิต สวัสดิ์เสวี, ทัศนะ ถมทอง, ปฏิพล สมุททารินทร์และสมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2556).การอบแห้งเนื้อปลาบดแผ่นด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 7(2),74 - 86.
มัณฑนา รังสิโยภาส และนัทธิ์ธนนท์ พงษ์พานิช. (2556). การศึกษาการอบแห้งแบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์แบบแอ็คทีฟสาหรับกล้วยสไลซ์. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27, 16-18 ตุลาคม 2556, ชลบุรี.
วันชลี เพ็งพงศา. (2549). การอบแห้งเนื้อหมูปรุงรสด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่งร่วมกับปั๊มความร้อน.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สนทยา สุนทรารักษ์และสันติ ครึ่งมี. (2562). การพัฒนาเตาอบไฟฟ้าโอ่งดิน. วารสารวิชาการ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 4(3), 21 - 29.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2548). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ไก่ย่าง (มผช.1028/2548).กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.
โสรยา เกิดพิบูลย์. (2558). การใช้กระบวนการซูวีดในการผลิตสเต็กเนื้อพร้อมปรุงและมัสมั่นเนื้อ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.