การรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตเทศบาลนครนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การควบคุมระดับน้ำตาล, การรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากรคือ  ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 131 คน ที่ขึ้นทะเบียนรับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณ สุขเทศบาลนครนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2562 โดยมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในพลาสมาจากหลอดเลือดดำหลังอดอาหารมากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรยืนยัน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง  ที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ  Daniel      ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 116 ราย                                                                                                                               ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ   เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล  คือ   แบบสอบถาม  ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล การรอบรู้ด้านสุขภาพและผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถาม      โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน  3 ท่าน   และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค                                                                          ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ  0.962  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบด้วย การรอบรู้ด้านสุขภาพ (r=0.627, P-value)                                                  ดังนั้น   บุคลากรสาธารณสุขที่มีหน้าที่ ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานควรจัดกิจกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  โดยการจัดกิจกรรม Self Help Group และพัฒนาทักษะการสร้างการรอบรู้ด้านสุขภาพและทักษะการจัดการตนเองโดยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560).แผนยุทธสาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ.2554-2563. สืบค้นจาก http://www.Bps.ops.moph.go.th/THLSP2011-2022/index.html.

กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ผลการสำรวจ Health Literacy ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-15 ปี. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ฉวีวรรณ ทองสาร. (2550). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการตนเองในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

มลินี สมภพเจริญ. (2551). ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็นพระเทพรันต์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. (2537). การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง มโนมติสำคัญ. ขอนแก่น : ขอนแก่น การพิมพ์.

American Diabetes Association. (2004) . Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus.Diabetes care.

Becker, M. H. (1974). The Heakth Belief Model and Personal Health Behavior. New Jersey : Charles B. Slack.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

World Health Organization (WHO). (2009). Diabetes : Cost.Retrieved November 12, 2016, from http://WWW.who.int/dietphysicalactivity/publications/facts/diabetes/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-03-2023