ประสิทธิผลโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การจัดการอาการกำเริบเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตน เองเพื่อลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลบ้านด่าน ลานหอย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 40 ราย โปร แกรมการจัดการตนเอง เพื่อลดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพัฒ นาขึ้นจากงานวิจัยระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย 1) การจัดการอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วย 2) การรับรู้ด้านสุขภาพ 3) ภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีการจัดการตนเองของเครียร์ (Creer) ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การตั้งเป้าหมาย กิจ กรรมที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูล กิจกรรมที่ 3 การประเมินผล และการประมวล กิจกรรมที่ 4 การตัดสินใจ กิจกรรมที่ 5 การลงมือปฏิบัติ กิจกรรมที่ 6 การสะท้อนการปฏิบัติระยะเวลาทด ลอง 5 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและสมุดบันทึกข้อมูลสุข ภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (P-value = 0.036) การรับรู้ด้านสุขภาพ (P-Value < 0.001) พฤติกรรมการจัด การอาการกำเริบเฉียบพลัน (P-Value = 0.024) ผลการวิจัยนี้พบว่า ระดับสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระดับ 3 ยังไม่มีการเปลี่ยนแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาการทดลองโปรแกรมฯ เพียง 5 เดือน ยังไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีระดับสม รรถภาพปอดดีขึ้น ดังนั้นควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้สามารถจั- ดการกับอาการกำเริบเฉียบพลันได้ เช่น การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง
References
เฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2561). รายงานประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย 2561. เอกสารอัดสำเนา.
หน่วยเวชระเบียน โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย. (2561). รายงานประจำปี2561. เอกสารอัดสำเนา.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.
Boonsawat W. (2013). Treatment guideline for chronic obstructive pulmonary disease.Retrieved January 20,2020.Available from http://www.eac2.dbregistry.com/sitedata/dbreggistryeac/1/CopdManagement.pdf.
Creer,T. (2000). Self-management. In M. Bookaert, P.R. Pintrich, & M. Zeider (Eds.), Handbook of self-regulation. San Diego; California: Academic Press.
Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.
National Health Security. (2016). Quality improvement foe management of asthma and chronic obstructive pulmonary disease. Retrieved January 20, 2020. Available from: http://nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.acpx?.
Orem, D.E. (2001). Nursing: concept of practices. (6th ed.) St. Louis MO : Mosby
Rosenstock, Irain M. (1974). The Health Belife Model and Prevention Behavior. Health Education Monographs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.