ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ เขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พิเชษฐ สีดาหอม โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม

คำสำคัญ:

การใช้บริการใส่ฟันเทียม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุกลุ่มประชากร  คือ ผู้สูงอายุที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 4,350 คน ใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ท- ราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel    ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 ราย ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย  5  ส่วน   ได้แก่   คุณลักษณะส่วนบุคคล  พฤติกรรมการดูแลสภาวะช่องปาก  คุณภาพชีวิต  การรับรู้ด้านสุขภาพและการใช้บริ การใส่ฟันเทียม ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน  และนำไปทดลองใช้เพื่อวิ เคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.948  วิเคราะห์ข้อ มูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  จากผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทา งสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย อายุ สถาน ภาพสมรส ระดับการศึกษารายได้ครอบครัวเฉ- ลี่ยต่อเดือนผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ จำนวนฟันแท้จำนวนฟันคู่สบ ตามลำดับ พฤติ กรรมการดูแลสภาวะช่องปาก ที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุอ- ย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร  การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน การรับบริการทันตกรรมตามลำดับ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับกา รใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ประกอบด้วยด้า นสุขภาพกาย ด้านจิตใจ  ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ซึ่งการรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทา งสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งประกอบด้วยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของสภาวะช่องปากการรับรู้ความรุน แรงของสุขภาพช่องปาก การรับรู้ประโยชน์ของการใส่ฟันเทียม การรับรู้อุปสรรคของการใส่ฟันเทียม ตามลำดับ 

References

เกศรินทร์ วีระพันธ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. Proceeding การประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ: 695-795.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานตามตัวชี้วัดกระทรวงปี 2562.สืบค้นจาก http://www.hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2551). คู่มือการดำเนินงานโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เฉลิมพล ตันสกุล. (2543). พฤติกรรมศาสตรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์.

นันทวดี ดวงแก้ว. (2551). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรงเบาหวาน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พินโญ หงษ์ยิ้ม, มิ่งขวัญ สิทธิวรนันท์, สริตา คัชพงษ์. (2560). ผลกระทบของการใส่ฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารทันตสาธารณสุข; 22(1): 37-47.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555. สนับสนุนโดยกองทุนผู้สูงอายุ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด.

โรงพยาบาลบัวเชด. (2563). รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากอำเภอบัวเชด ปี พ.ศ.2562. สืบค้นจาก https://www.buachedhsp.com.

ศศิกร นาคมณี. (2561). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลบางปะกง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ; 35(1): 30-39.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). รายงานการวิจัยโครงการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2553). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. นนทบุรี: คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Albert, DA., Ward, A., Allweiss, P., Graves, DT., Knowler, WC., Kunzel, C., et al. Diabetes and oral disease: implications for health professionals. Ann N Y Acad Sci; 2012, 1255: 1-15.

Beach, E.K., Moloney, B.H., and Arkon, O.H., (1992). “The spouse: A factor in recovery after myocardial infarction.” In Heart & Lung: Journal of Clinical Care; 1: 30-38.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3 rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9 th ed). New York: John Wiley & Sons.

Rosenstock, I. M. (1974) . History origins of the health belief model. In H. B. Marshel, The health belief model and personal behavior. New Jersey : Charles B. Slack.

World Health Organization. (2009). Ageing and life course. [Internet]. Cited 2020 February 20. Available from: http://www/who.int/ageing/en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-03-2023