การพัฒนาแนวปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บฉุกเฉินในโรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม

ผู้แต่ง

  • เกตุกาล ทิพย์ทิมพ์วงศ์ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยบาดเจ็บ, ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน, แนวทางปฏิบัติ

บทคัดย่อ

         การวิจัยและพัฒนาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน  โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ตามกรอบแนวคิด Evidence -  based Practice Model ของ Soukup (2000) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยบาดเจ็บและฉุกเฉินที่มารับบริการช่วงเดือน มีนาคม  2561 - กันยายน  2562     เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 98 รายและทีมฉุกเฉินจำนวน 12 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสนทนา แนวปฏิบัติ และแบบประเมินผลการใช้  ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ  3 ท่าน ขั้นตอน ได้แก่ การ วิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนาแนวปฏิบัติทดลองใช้ และประเมินผล  สถิติที่ใช้  ความถี่ค่าเฉลี่ย   ร้อยละ  เปรียบเทียบข้อมูลด้วยการทดสอบ  Paired t- test ผลการวิจัยพบว่า การมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนโดยกำหนดบทบาทหน้าที่ การจัดเตรียมอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ให้พร้อมใช้ส่งผลให้เกิดความปลอดภัย  โดยวัดได้จากค่าความเข้มข้นของออกซิเจน  ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P< . 05)  การช่วยเหลือในห้องฉุกเฉินเฉลี่ย  75.34 นาที ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และความพึงพอใจของทีมในการใช้แนวปฏิบัติ โดยรวมหลังพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาในระดับมากที่สุด   (ค่าเฉลี่ย 4.37)   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุปได้ว่า  การพัฒนาแนวปฏิบัติการช่วยชีวิตโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มีประโยชน์สามารถนำไปใช้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วย

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์.(2560). การขับเคลื่อนตัวชี้วัด Service Plan Trauma & Emergency. สืบค้นจาก www.pi.ac.th/news/file/532.

กรองได อุณหสูต และเครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุ แห่งประเทศไทย. (2551). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บจากภาวะคุกคามชีวิตในการ จัดการช่วยชีวิตในห้องฉุกเฉิน. การประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ประจำปี 2551 ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอ็น พี เพลส.

พนอ เตชะอธิก, สุนทราพร วนสุพงศ์ และ สุมนา สมฤทธิ์รินทร์. (2554). ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผูบาดเจ็บหน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.

เพ็ญศรี ดำรงจิตติ์, รสสุคนธ์ ศรีสนิท, พรเพ็ญ ดวงดี.(2557). แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร.สืบค้นจาก http://www.mahidol.ac.th/Journal.

วราภรณ์ ดีน้ำจืด, กรองได อุณหสูต และ ทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2551). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการภาวะคุกคามชีวิตในผู้ป่วยอุบติเหตุ.วารสารการพยาบาล.

สุนิดา อรรถอนุชิต, วิภา แซ่เซ และ ประณีตส่งวัฒนา. (2553). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ.วารสารมหานราธิวาสราชนครินทร์.

โสภณ กฤษณะรังสรรค์ และคณะบรรณาธิการ. (2558). คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี: AED). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บจก.ปัญจมิตรการพิมพ์.

Soukup, S. M. (2000). Evidence-based practice model promoting the scholarship of practice. In S. M. Soukup & C. F. Beason Eds). Nursing Clinic of North America. (pp.301-309). Philadelphia: W. B. Saunders.

Strauss, R.W., Halterman, M.K., Garmel, G.M. (2013) . Strauss and Mayer’s Emergency Department Management. (2 nd ed).New York : Mc Graw-hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-04-2023