การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวที่ขาดแคลนน้ำโดยใช้ CROPWAT และวิธีการวิเคราะห์หมายเลขโค้งน้ำท่าในพื้นที่ที่ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดน้ำท่า กรณีศึกษาอำเภอจุน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นิติ เอี่ยมชื่น มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรพล ลีคําปัน มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

น้ำท่า, CROPWAT, SCS-CN

บทคัดย่อ

          การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวที่ขาดแคลนน้ำโดยใช้  CROPWAT และมีวิธีการวิเคราะห์หมายเลขโค้งน้ำท่าในพื้นที่ที่ไม่มีเครื่องมือตรวจวัดน้ำท่า  กรณีศึกษาอําเภอจุน  จังหวัดพะ เยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปริมาณน้ำท่าของพื้นที่ปลูกข้าว  ด้วยวิธีทางการวิเคราะ ห์หมายเลขโค้งน้ำท่า  (Soil Conservation Service Curve Number  :  SCS-CN) ร่วมกับการใช้น้ำของพืชโดยโปรแกรม  CROPWAT และมีวิเคราะห์ค่าปริมาณน้ำท่ากับค่าความต้องการน้ำของพืชในพื้นที่นาข้าว ปี พ.ศ. 2557  และปี พ.ศ. 2559 เพื่อหาความสัมพันธ์กันระหว่างน้ำต้นทุนกับความต้องการใช้น้ำของข้าว   ซึ่งผลการศึกษาพบว่าเมื่อนําเอาค่าปริมา ณน้ำท่าของทั้ง 2 ปี และมีค่าปริมาณน้ำฝนที่ใช้ได้จริงและค่าปริมาณน้ำท่าสูงสุดมาพล็อตกราฟกับข้อมูลความต้องการการใช้น้ำของข้าวในระยะเริ่มต้นจนถึงระยะสุดท้าย ซึ่งได้ผลการวิเคราะห์ว่า ในปี พ.ศ. 2557 ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำ ท่าเพียงพอต่อการใช้น้ำของข้าวนาปี แต่ยังมีบางพื้นที่ที่วิกฤตอยู่ 7 ตําบลของเดือนกรกฎา คม ส่วนเดือนสิงหาคมมีพื้นที่ที่วิกฤตอยู่ 4 ตําบลพบว่าพื้นที่วิกฤตหนักที่สุดของทั้ง 2 เดือน คือ ตําบลพระธาตุขิงแกง และปี พ.ศ. 2559 พบว่า ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหา คม เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำท่าเพียงพอต่อการใช้น้ำของข้าวนาปี แต่ยังมีบางพื้นที่ที่วิกฤตอยู่ 7 ตําบลพบว่าพื้นที่วิกฤตหนักที่สุดคือ ตําบลจุน

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2559). พื้นที่ประกอบกิจกรรมทางเกษตร.สืบค้นจาก http://agri-map-online.moac.go.th/.

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). พะเยา ประกาศภัยแล้งเพิ่มอีก 7 อำเภอ ทั้งจังหวัดเหลือน้ำเพียง 26%. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/609056.

พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และพิณทิพย์ธิติโรจนวัฒน์. (2551). การกำหนดค่า SCS-CN ของพืชคลุมดินเพื่อการจัดการพื้นที่ต้นน้ำ. ส่วนวิจัยน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. 7, 1-10.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา. (2560). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดพะเยา. สืบค้นจาก https://bit.ly/2ReOIJK.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. 1-224.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2561). การจำแนกประเภทข้อมูลภาพ.สืบค้นจาก http://www.bit.ly/2JGoLhZ.

อัคคพล นวลมังสอ, (2553). ความต้องการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยใช้โปรแกรม CROPWAT. สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน.

Mishra, S.K. and V.P. Singh. (2003) .Soil Conservation Service Curve Number (SCS-CN) Methodology.Kluwer Academic Publishers,Dordrecht.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-04-2023