ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, ความปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี และ ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติ กับพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ถึง 4 ทุกคนที่ใช้ห้องปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบทดสอบ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product -moment correlation)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ อยู่ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 94 (ค่า =2.93,S.D.=0.28) ทัศนคติ อยู่ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 92.6 (ค่า =4.01,S.D.=0.27) พฤติกรรมด้านความปลอดภัย อยู่ระดับเหมาะสมดี คิดเป็นร้อยละ 50.9 (ค่า =2.50,S.D.=0.52) และ 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัย พบว่าเพศ ชั้นปี ระยะเวลาในการใช้ห้องปฏิบัติการแต่ละครั้ง ความรู้ความปลอดภัย ของนักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยแห่งหนึ่งมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการเคมี ทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย อาจเป็นเพราะว่านักศึกษาที่มีทัศนคติที่ระดับน้อย มีความรู้ในระดับมาก ทำให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ส่วนนักศึกษาที่เกิดอุบัติเหตุ บางคน มีพฤติกรรมที่เหมาะสม เช็คอุปกรณ์ อ่านคู่มือ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ทำให้ความรุนแรงที่เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุลดลง
References
โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย.
ดวงฤดี กิตติจารุดุล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงกรณีศึกษา: บริษัทน าเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ธิติภพ เกตุแก้ว. (2563). อันตรายจากสารเคมี สัญลักษณ์และความหมายที่แสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์. https://www.skilltech.co.th/2019/08/07/chemical_danger/.
พรธิดา เทพประสิทธิ์และ ประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO / IEC – 17025 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 66-75.
วชิรา วชิรจุติพงศ์. (2548). บทบาทของสื่อในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินป่าจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพน์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563). ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=2062.
ศุภวรรณ ตันตยานนท์. (ม.ป.ป.). อุบัติเหตุและการป้องกันอันตรายในห้องปฏิบัติการ: แนวปฏิบัติทั่วไป. http://www.chemsafety.research.chula.ac.th/html/content.html.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.). (2559). คู่มือการจัดการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.