ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ปรีชา พุกจีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พุฒิพงศ์ มากมาย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

                  การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพมีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี จำนวน 6,841 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 215 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน  ได้แก่   ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล   ส่วนที่ 2 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ  ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก  แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ  3 ท่าน  และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค  เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน    ผลการวิจัยพบว่า   ความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกรายด้านที่พบความสัมพันธ์ทางบวกกับการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน   จังหวัดปัตตานี     ประกอบด้วย    การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ   (r = 0.310,  P-value  < 0.001)   การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญ   (r = 0.201,  P-value = 0.003)   การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ    (r  = 0.386 ,  P-value  < 0.001) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง  (r = 0.349,  P-value < 0.001) การจัดการตนเองให้    มีความให้มีความปลอดภัย   (r = 0.480,  P-value < 0.001)   ตามลำดับ   แต่ด้านความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไม่พบความสัมพันธ์   (r  = 0.117,   P-value = 0.086)

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2546). แผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน สุขภาพภาคประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชมพูนุช อินทศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคไข้เลือดออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

วีระ กองสนั่น และ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 3(1), 35-44.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2560). คู่มืออาสาปราบยุง (โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood Cliffs: N.J. Prentice-Hall.

Bloom, Benjamin S., et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Cronbach, Lee J. (1951). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed). New York: Harper.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.

HLS-EU Consortium. (2012). Comparative report on health literacy in eight EU member states. www.HEALTH-LITERACY.EU.

Hammon WM., Rudnik A., Sather GE. (1960). Viruses associated with epidemic hemorrhagic fever of the Philippines and Thailand. Science. 131(11), 3.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8), 259-267.

ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-03-2023