ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ทรรศนีย์ บุญมั่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ  3อ.  2ส.  ของประชาชน  อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยกลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  432  คน  โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ   และทักษะการตัดสินใจใช้ KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.72 และ 0.70 ตามลำดับ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ   ทักษะการสื่อสาร  ทักษะการจัดการตนเอง  ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ  และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของ ครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่น 0.76, 0.86, 0.80, 0.84, และ 0.78 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

             ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.0 มีอายุเฉลี่ย 39.46 ± 11.09 ปี  จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 53.7 ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 57.4   มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้   ร้อยละ   63.2    มีพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ. 2ส.   อยู่ในระดับปานกลาง  ร้อยละ  78.9   ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ  3อ. 2ส.  ของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ  ทักษะการสื่อสาร (p-value < 0.001, β = 0.152)  ทักษะการจัดการตนเอง   (p-value < 0.001, β = 0.088) ความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ (p-value < 0.001, β = 0.048)  และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (p-value < 0.001, β = 0.059) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ  3อ. 2ส.  ของประชาชนเพื่อมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนได้

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ประจำปี งบประมาณ 2561. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และ นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด.

ภมร ดรุณ และ ประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 15(3), 71-82.

พัชรินทร์ มณีพงศ์, วลัยพร สิงห์จุ้ย, สัญญา สุขขำ และ เพ็ชรน้อย ศรีผุดผ่อง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 4(1), 84-93.

สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). สรุปผลการดำเนินงาน คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการปกครองท้องถิ่น สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสุโขทัย. (2564). คลังข้อมูลสุขภาพ. https://www.govesite.com/maungsukhothaihealth/index.php?p=1.

Bloom. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company Inc.

J. M Mancuso. (2008). Health Literacy: A concept/dimensional analysis. Nursing & Health Sciences. 10(3), 248-255.

Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communicaation strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(3), 259-267.

W. W Daniel. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.

ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-03-2023