การพัฒนาเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้และเครื่องตัดทำฐานกระทงแผ่นประกอบไม้จากเปลือกมะพร้าวสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • พิชิต พจนพาที มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

เครื่องอัดแผ่นประกอบไม้, เครื่องตัดทำฐานกระทง, แผ่นประกอบไม้, กระทง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   1) เพื่อศึกษาส่วนผสมที่เหมาะสมในการทำแผ่นประกอ บไม้จากกาบเปลือกมะพร้าว   2) เพื่อสร้างเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้และสร้างเครื่องตัดทำฐ านกระทงแผ่นประกอบไม้จากกาบเปลือกมะพร้าว  3) เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องอัดแผ่ นประกอบไม้และเครื่องตัดทำฐานกระทงแผ่นประกอบไม้จากกาบเปลือกมะพร้าว   4) เพื่อศึ กษาความพึงพอใจของของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลลานดอกไม้ตก  อำเภอโกสัมพีนคร จั งหวัดกำแพงเพชร ประชากร ได้แก่กาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์และกาบเปลือกมะพร้าว  กลุ่มตัว อย่าง  ได้แก่อัตราส่วนผสมอัตราส่วนผสมระหว่างกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์กับเปลือกมะพร้าวรวมกันแล้วได้ร้อยเปอร์เซนต์ตามสูตรที่กำหนดไว้  จำนวน 5 สูตร  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  การหาประสิทธิภาพและความพึงพอใจของการทำงานของเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้จากเปลือกมะพร้าวและสร้างเครื่องตัดทำฐานกระทงแผ่นประกอบไม้จากเปลือกมะพร้าว  ผ ลจากการวิจัยพบว่า

          1. การนำกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์กับกาบเปลือกมะพร้าวมาทำการทดลองหาคุณลักษ ณะทางกายภาพพบว่าสูตรอัตราที่เหมาะสมในการทำแผ่นประกอบไม้จากกาบเปลือกมะพร้- าวทั้งหมด  5 สูตร สรุปโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าสูตรที่ 3 มีความ เหมาะสมมากกับการขึ้นรูปฐา นกระทงมากที่สุดโดยใช้กาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ 30 ส่วน กาบเปลือกมะพร้าว 70 ส่วน

          2. ผลการวิเคราะห์รูปแบบเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้ ผลการทดลอง  มีด้วยกัน 2 ด้านดังนี้  ด้านที่ 1. ผลการวิเคราะห์ด้านรูปทรงของกาบเปลือกมะพร้าวจากการขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้สรุปโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านรูปทรงที่ต้องการมากที่สุดคือคือแบบที่ 3 เป็นแบบวงกลมร้อยละ 70 วงรีร้อยละ 20 และสี่เหลียมร้อยละ 10 ด้านที่ 2. ผลการวิเคราะห์ด้านความหนาของกาบเปลือกมะพร้าวจากการขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้ สรุปโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าสูตรที่ 3 มีความหนา 2 ซม. เหมาะสมกับการขึ้นรูปเป็นฐานกระทงมากที่สุ ดร้อยละ 70 รองมาคือสูตรที่ 4 มีความหนา 2.5 ซม. ร้อยละ20  และสูตรที่ 2 มีความหนา 1. 5 ซม. ร้อยละ10

          3. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้ สรุปโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าเครื่องอัดแผ่นประกอบไม้  1 แบบ ต่อ 1 คน จำนวน 8 ชิ้นใช้เวลา 40 นาที ส่วนคน 1 คน ตัดด้วยมือจำนวน 8 ชิ้น ใช้เวลา 60 นาที

          4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภ อโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร สรุปโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าตอนที่ 1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายจำนวน  10 คนคิดเป็นค่าร้อยละ 66.67 เพศหญิง 5 คนคิดเป็นค่าร้อยละ 33.33 อายุ 20-30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 13.33 อายุ 31-40 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นค่ าร้อยละ 66.67 อายุ  41-50 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 13.33 อายุ 51-60 ปี  จำนวน 1 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 6.66 การศึกษา ระดับประถมศึกษาจำนวน 5 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 3 3.33 ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 8 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 53.33  ซึ่งระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ าจำนวน 2 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 13.33 ประสบการณ์การตัดทำฐานกระทง 1-3 ปี  จำนวน 1 คน คิดเป็น ค่าร้อยละ 6.66 ประสบการณ์การตัดทำฐานกระทง 3-5 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 66.67  ประสบการณ์การตัดทำฐานกระทง  5 ปีขึ้นไปจำนวน 4 คน คิดเป็นค่าร้อยละ 26.67   ตอนที่ 2. การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ความพึงพอ ใจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร สรุ ปโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า

                    1. ด้านการเตรียมหาวัตถุดิบ ระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.93 SD 0.25) ค่าร้อยละ 93.33

                     2. ด้านการย่อยเปลือกมะพร้าวระดับความต้องการมากที่สุด  (gif.latex?\bar{x} 4.80 SD 0. 40) ค่าร้อยละ 80.00

                    3. ด้านขั้นตอนในการเตรียมทำฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 60 SD 0.61) ค่าร้อยละ 66.67

                      4. ด้านวิธีการขึ้นรูปทำฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.87 SD 0.34) ค่าร้อยละ 86.67

                      5. ด้านระยะเวลาในการขึ้นรูปทำฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.87 SD 0.34) ค่าร้อยละ 93.33

                     6. ด้านขนาดความเหมาะสมของฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.87 SD 0.34) ค่าร้อยละ 86.67

                      7. ด้านความแข็งแรงของฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.80 SD 0.54) ค่าร้อยละ 86.67

                      8. ด้านความบิดเบี้ยวของฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.87 SD 0.50) ค่าร้อยละ 93.33

                       9. ด้านการหลุดร่อนจากกันของฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.73 SD 0.57) ค่าร้อยละ 80.00

                       10. ด้านความสวยงามของฐานกระทงระดับความต้องการมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} 4.93 SD 0.25) ค่าร้อยละ 93.33

References

ค ว า ม รู้ เ บื้ อ ง ต้ น เ กี่ ย ว กั บ ม ะ พ ร้ า ว. (2559). In Wikipedia. https://th.wikipedia.org/wiki/ม ะ พ ร้ า ว. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7

จันทิพย์ พรมชัย. (2559). การประดิษฐ์กระทง. กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://student.nu.ac.th/chan thip/6.html.

ฐากูล ทองเสน และประมวล มากเปีย (2555 :โครงงาน). การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องปอกมะพร้าว. สงขลา : วิทยาลัยการอาชีพหลวง ประธานราษฎร์นิกร.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). บริบทกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านลานดอกไม้ตกผู้ผลิตกระทง. http://kam paengphet.kapook.com/.

รั ช นี ว ร รณ สุ ข ขี. (2 5 6 0 ) . เ ค รื่ อ งป อ ก ผ ลม ะพ ร้ า ว . คณ ะ วิ ศ ว ก ร ร ม ศ า ส ต ร์ กำแพง แ ส นม ห า วิ ท ย า ลั ย เ ก ษ ต ร ศ า ส ต ร์ วิ ท ย า เ ข ต กำแ พ ง แ ส น . www.eng.kps. ku.ac.th/dblibv2/fileupload/project_IdDoc271_IdPro659.pdf.

วินัย รักษ์ศรีบุตร. (2559). ความพึงพอใจ. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. https://arit.sru.ac.th/files/e-research.sru.ac.th/?q=system/files/ Nutthiya.pdf.

ศิวลักษณ์ ปฐวีรัตน์และ ฉัตรชัย ทิพยรัตน์. (2556). การออกแบบและพัฒนาเครื่องปอกเปลือกผลมะพร้าวอ่อนแบบใบมีดชัก. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 14 และรดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 ประจ าปี 2556 (น. 310-313).

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (2559 ). ข้อมูลเกี่ยวกับมะพร้าว. http://www.angelfire.com/hero/t_coco nut/page2x3.htm.

ส ร ร เ ส ริ ญ พง ษ์พิ พั ฒ น์ . (2 5 5 9 ) . ค ว า มพึ งพ อใ จ . ส ำนั กง า น ก า ร วิ จั ย แ ห่ง ช า ติ ( ว ช . ) . https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/196074

สโรชา เจริญวัย. (2545). แผ่นชิ้นไม้อัดจากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเชษฐ์ ซ้อนกลิ่น.(2560) เครื่องหั่นกาบมะพร้าว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา.:http://www.clinictech.rmuti.ac.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ และส านักงาน ก.พ.ร., 2551, หน้า 8.

อนุชา สุวรรณราช. (2560). เครื่องปอกเปลือกมะพร้าวอ่อน. วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาหนองม่วง.

www.nvtc.ac.th/webproject/Upload/60/ server/php/files/60-27%20%281%29.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-06-2023