ประสิทธิผลการแช่เท้าด้วยผงฟองฟู่สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
ผงฟองฟู่สมุนไพรแช่เท้า, อาการชาเท้า, อาการไม่สบายเท้า, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) มีวัตถุประสงค์ ศึกษาผลของโปรแกรมการแช่เท้าด้วยผงฟองฟู่สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน ในการลดระดับความไม่สบายเท้า และ การลดอาการชาเท้าการแช่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการประเมินเท้าแล้วพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนและ มีปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย จำนวน 39 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ มีอาการชาตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป มีอาการไม่สบายเท้า ไม่มีโรคระบบประสาทอื่น ไม่ได้อยู่ในช่วงรับประทานยาแก้ปวด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูล 4 ส่วนคือ 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วยเบาหวาน 2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) ความรู้เข้าใจทางสุขภาพ และ 4) คุณภาพชีวิต ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประ-สิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.866 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้อธิบายข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของสูงอายุ , วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปมาน ด้วยสถิติทดสอบ Paired t - test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการแช่เท้าด้วยผงฟองฟู่สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต การลดระดับอาการไม่สบายเท้าและการลดอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน สูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กองโรคไม่ติดต่อ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. (2565). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องในวันเบาหวานโลก ปี 2565. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/.
คปสอ.ส่องดาว. (2561). คู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง. https://songdao.moph.go.th/websongdao2019.
ปิยรัตน์ ชูมี. (2562). การตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน. สุราษฎร์ธานี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี.
รุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย, พิมผกา ปัญโญใหญ่ และ สรัญญา พิจารณ์. (2559). การประเมินความเสี่ยงและการจัดการแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน : บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 30(3), 154.
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยทิน. (2564). โรคแทรกซ้อนที่มากับเบาหวาน. https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-เบาหวาน-ความดัน/โรคแทรกซ้อนที่มากับเบาหวาน.
ศรีมาลัย วิสุทธิศิริ. (2553). การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 16(1), 60-73.
วันนิศา รักษามาตย์ และ พนม ทองอ่อน. (2563). ประสิทธิผลของการเหยียบถุงประคบสมุนไพรกับการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3(1), 13-27.
สุพัตรา ศิริพงษ์ดำรงกุล, สรรใจ แสงวิเชียร และ ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. (2563). ผลของการให้สุขศึกษาร่วมกับการแช่น้ำสมุนไพรและการนวด เท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 17(2), 459-470.
สุพัตราพร คุ้มทรัพย์. (2561). ผลของการแช่เท้าในน้ำสมุนไพรต่ออาการชาและการไหลเวียนโลหิตที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภาพร โอภาสานนท์. (2554). แผลเบาหวาน(Diabetic Foot) และการดูแลเท้า. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=915.
สุวัฒน์ มหัตนิรัน, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และ คณะ. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษไทย (WHOQOL-BREF-THAI). ใน โครงการจัดทําโปรแกรมสําเร็จรูปในการสํารวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อนันต์ อธิพรชัย, สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา และ สุวรรณา เสมศรี. (2562). การค้นหาและพัฒนาสมุนไพรไทยสำหรับรักษาโรคเบาหวาน (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัมรินทร์ เกียงเอีย และ จันทร์ทิพย์ สุวรรณมาศ. (2561). นวัตกรรมหมอนสมุนไพรลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. ใน การประชุมวิชาการ: นำเสนอประสบการณ์และงานวิจัยการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสุขภาพ (น. 87-93). นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
อำภาพร นามวงศ์พรหม และ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2553). การเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล. 25(3), 51-63.
Priya Jugale, Aditya Kadam, Anjali Kadam, Neha Jetithor, P.S. Kore, S.K. Mohite, S.K. (2020). Preparation and evaluation of antifungal bath bomb of ethanolic extract of betel leaves. SGVU Journal of Pharmaceutical Research & Education. 5(1), 465-470.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.