รูปแบบการดื้อต่อยารักษาแนวที่หนึ่งของเชื้อวัณโรคในปอดด้วยวิธีการทดสอบความไวต่อยาในตัวอย่างเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในเขตสุขภาพที่ 2
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด, ยารักษาแนวที่หนึ่ง, ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่, การทดสอบความไวต่อยารักษาวัณโรคบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดื้อต่อยารักษาแนวที่หนึ่งของเชื้อวัณโรคปอดจากตัวอย่างเสมหะของผู้ป่วยรายใหม่ในเขตสุขภาพที่ 2 ปี พ.ศ. 2562-2564 ทำการทดสอบที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก มีผลการทดสอบความไวต่อยา Isoniazid , Rifampicin , Streptomycin , Ethambutol จำนวน 588 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศชาย ร้อยละ 76.19 ผลการทดสอบความไวต่อยาพบเชื้อวัณโรคดื้อต่อยาตัวเดียว Isoniazid , Rifampicin , Ethambutol , Streptomycin ร้อยละ 17.00 , 0.34 , 0.34 , 4.59 ตามลำดับ พบเชื้อวัณโรคดื้อต่อ Isoniazid ร่วมกับ Streptomycin ร้อยละ 4.76 ดื้อต่อ Isoniazid ร่วมกับ Ethambutol ร้อยละ 0.17 เท่ากับ เชื้อวัณโรคดื้อต่อ Rifampicin ร่วมกับ Streptomycin และพบเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน MDR-TB ดื้อต่อยา Isoniazid ร่วมกับ Rifampicin ร้อยละ 0.85 พบรูปแบบดื้อยา Isoniazid-resistant TB ( HR-TB ) ร้อยละ 21.94 ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (อายุ 45 - 64 ปี) และรูปแบบการดื้อยา Rifampicin-resistant TB ( RR-TB , MDR-TB ) พบร้อยละ 1.36 ส่วนใหญ่พบในวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย (อายุ 45-64 ปี) และวัยผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป)
รูปแบบการดื้อต่อยารักษาแนวที่หนึ่งของเชื้อวัณโรคในปอดพบทั้งเชื้อที่ดื้อต่อยาตัวเดียว เชื้อที่ดื้อต่อสองตัวยา และเชื้อที่ดื้อต่อยาหลายขนานที่ดื้อต่อตัวยา Isoniazid และ Rifampicin ร่วมด้วย อาจทำให้เกิดการดื้อยาหลายขนาน MDR-TB และการดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง XDR-TB เกิดขึ้นในอนาคตได้
References
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย. https://www.tbthailand.org /download/form/.pdf.
กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2562). แนวทางการบริหารจัดการและการปฏิบัติการทางห้องปฏิบัติการด้านวัณโรค. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย. (2019). สถานการณ์วัณโรคของไทยยังรุนแรง พบผู้ป่วยรายใหม่-กลับเป็นซ้ำปีละกว่า 7 หมื่นราย. https://www.hfocus.org/content/2019/09/17640.
ชเลวัน ภิญโญโชติวงศ์. (2561). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคที่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 14(2), 1-10.
นาปีเส๊าะ มะเซ็ง, สมเกียรติยศ วรเดช และ ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2563). ปัจจัยที่มีต่อการติดเชื้อวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค: การทบทวนวัณกรรม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(2), 32-46.
วราพร ยิ้มแย้ม, ปัทมา กล่อมพร, ภิญญดา สมศรี และ ธนกร โพธิ์วงศ์. (2562). การเปรียบเทียบการตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาระหว่างวิธีการทดสอบความไวต่อยาแบบดั่งเดิมและวิธี Line Probe Assay (LPA). วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2(3), 33-46.
สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพรบรมราชูปถัมภ์. (2542). วัณโรค. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทยพ.ศ.2561. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
Dasarathi Das, Prakasini Satapathy, Biswanath Murmu. (2016). First Line Anti-TB Drug Resistance in an Urban Area of Odisha, India. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5198316/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.