ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในห้องคลอดโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ฐิติพรรณ พร้อมวงศ์ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

ภาวะตกเลือดหลังคลอด, หญิงหลังคลอด, พยาบาลห้องคลอด, แนวปฏิบัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีรูปแบบวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบ บ 2 กลุ่ม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในห้องคลอดโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังคลอด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ใช้เครื่องมือแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก และกลุ่มควบคุม  จำนวน 30 คน ได้รับการพยาบาลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับกา รป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนาย น 2566 ถึง กรกฎาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Independent t-test

          ผลการศึกษา พบว่า ทั้งในระยะคลอดและระยะหลังคลอดระยะแรก (2 ชั่วโมง)  กลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกัน  และแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอดระ ยะแรก และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลปกติมีปริมาณการสูญเสียเลือดแตกต่างกันอย่า งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันประสิทธิผลของแนวป ฏิบัติการพยาบาลคลินิดเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตกเลือดหลังคลอด สามารถนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดี นำไปสู่การพัฒนาคุณ ภาพต่อไป

 

References

จุไรรัตน์ มีทิพย์กิจ และทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2563). ประสทธิผลของแนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันตกเลือดหลังผ่าตัดคลอดต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและอัตราการเกิดตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด. ไทยเภสชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 15(2), 81-89.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์. (2559). การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3(3); 127-141.

แนวทางเวชปฏิบัติราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). การป้องกันและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการ: กรุงเทพมหานครฯ.

รัชนี เข็มพล. (2565). ผลการใช้เครื่องมือการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและอัตราการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด งานห้องคลอด. สุโขทัย.

วรนุช บุญสอน. (2562). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก งานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์.

วรรณี แก้วคงธรรม. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2(3); 37-38.

ศิริพร อินทฤทธิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้คลอดเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลหนองเสือ. 1-22.

ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์ และ สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. (2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือด ระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอด แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22, (หน้า 134-147). ขอนแก่น.

สุพัตรา ยาหลง และ สุมิตรา ยศปัญญา สงเคราะห์ บอส. (2564). ผลการพัฒนาเครื่องมือการประเมินการหดตัวของมดลูกต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและอัตราการตกเลือดหลังคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด. เพชรบูรณ์เวชสาร. 1(1); 67-76.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2563). ระบบเฝ้าระวังการตายมารดา ปีงบประมาณ 2563. กรมอนามัย: นนทบุรี.

สุพัตรา ยาหลง และสุมิตรา ยศปัญญา สงเคราะห์ บอส. (2564). ผลการใช้เครื่องมือการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกต่อปริมาณการสูญเสียเลือดและอัตราการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด งานห้องคลอดโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. 1-17.

สุภาพร จุฑาอารยะกุล. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 11(1); 2-15.

American College of obstetricians and gynecologists. (2017). Classification and diagnosis of diabetes. Diabetes care. 40(1), 11-24.

ACOG Practice Bulletin. (2006). Clinical Management Guidelines for Obstetrician Gynecologists Number 76.

Committee on Practice Bulletin. (2017). Practice Bulletin. No.183 : Postpartum Hemorrhage.

Postpartum Hemorrhage. (2017). Committee on Practice Bulletin. Practice Bulletin, 183.

World Health Organization. (2014). WHO guidelines for the management of postpartum haemorrhage and retained placenta. Geneva.

World Health Organization. (2012). WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Italy: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data.

World Health Organization. (2015). WHO guidelines for the management of postpartum hemorrhage and retained placenta. France: WHO Library.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2023