ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงในตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เกษศรินทร์ วัชระพิมลมิตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การตรวจคัดกรองมะเร็ง, โรคมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการตร วจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิง  ประชากรคือ ผู้หญิงอายุ 30–60 ปี ตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม  ปีงบประมาณ  2563 จำนวน  1,866 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 320 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่า งแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอ บรู้ด้านสุขภาพ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ทดสอบคุณภาพขอ งแบบสอบถามโดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำ นวน  3 ท่าน   และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอล ฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.96   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงอายุ 30–60 ปี  ตำบลหนองปากโล ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ (r=0.209, P-value<0.001) การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญ (r=0.204, P-value<0.001) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (r=0.211, P-valu e<0.001)  การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง  (r=0.274, P-value<0.001) การจัดการตนเ องให้มีความปลอดภัย (r=0.223, P-value<0.001) ตามลำดับ ปัจจัยที่สามารถทำนายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงในช่วงอายุ  30-60 ปี ประกอบด้วยการตัดสินใจเลื อกปฏิบัติที่ถูกต้อง (P-value<0.001) การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ (P-v alue=0.011) ตามลำดับ สามารถทำนายได้ร้อยละ 36.4 (R2 =0.364)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562).Health Data Center. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php.

เครือฟ้า ชาญจะโปะ, รุจิรา ดวงสงค์. (2562). ควาสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคปริทันต์ อายุ 60-74 ปี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(3) : 72-80.

พิชัย พวงสด, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงศ์ มากมาย. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และการสาธารณสุขชุมชน. 1(3) : 1-12.

ภาวิณี มนตรี, กาญจนา คงศักดิ์ตระกูล, ศุรภดา มณฑาทิพย์ และคณะ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารควบคุมโรค. 47(2): 343-352.

วีระ กองสนั่น, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และการสาธารณสุขชุมชน. 3(1) : 35-44.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการ วิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8.1 (2019): 116-123.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถานบันมะเร็งแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2562). สรุปผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ.(เอกสารอัดสำเนา) นครปฐม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. In M.H. Becker (Ed.), The health belief model and personal health behavior (pp. 82-920. Thorofare, NJ: Charles B. Slack.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

World Health Organization (WHO). (2009). Health literacy and health promotion. Definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual empowerment conference working document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and development. Nairobi, Kenya; 26-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2023