คุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • กัณฐมณี กี่สุ้น กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความสุขในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความสุขในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต  ป ระชากรคือ บุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ในปีงบประมาณ  2566  จำ นวน 730 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนว น 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย คุณลักษณะส่วนบุคคล คุณภาพชีวิตการทำงาน ความสุขในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตา มเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน  และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลกา รวิจัยพบว่า ในคุณภาพชีวิตการทำงานที่สามารถทำนายความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ได้ถูกต้อง ร้อยละ 71 (R2 =0.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ด้านความก้าวห น้าและความมั่นคง ด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านการเป็นที่ยอมรับ  ตามลำดับ ความสุขในการทำงานที่สามา รถทำนายความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ได้ถูกต้อง ร้อยละ 73 (R2 =0.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ด้านการติดต่อสัมพันธ์  ด้านความรักในงาน  ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ ตามลำดับ

References

จิราพร ระโหฐาน. (2565). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 6. https://www.aftermarket.pl/domena/detail.pl?biblionumber=206548&shelfbrowse_itemnumber=817995.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2566). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดภูเก็ต.https://pkto.moph.go.th/home.html.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2565). แนวทางการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. https://pkto.moph.go.th/home.html.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Huse, E.F., Cumming, T.G. (1985). Organizational development and change Minneapolis. (3rd edn). St. Paul, MN: West.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive work place. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.

Richmond, L. (1999). Work as a spiritual practice. New York: Broadway Books.

Schuler, R. S., Beutell, N. J. & Youngblook, S. A. (1989). Effective Personal Management. (3rded.). Minnesota: Minnesota Nest Publishing.

Warr, P. (1990). The measurement of well-being and other aspects of mental health. Journal of Occupation Psychology. 63, 193-210. West Publishing.

Walton, R.E. (1973). Quality of work life: what is it?. Sloan Management Review. No.15: 12-18.

Van Rossenberg., Y., G., T. et al. (2022). An HRM perspective on workplace commitment: Reconnecting in concept, measurement and methodology. Human Resource Management Review, 32 (2022) 100891.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2023