ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชนเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่กรณ์ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พยงค์ ขุนสะอาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • เอกลักษณ์ เชอะมือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • อภิสิทธิ์ ศรีรักษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเชียงรา
  • จตุพร แพงจักร คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สุเวช พิมน้ำเย็น คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, ครอบครัว, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับการสนับสนุนทางสังคมของครอบ ครัวที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลวังเจ้า  2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัม พันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวช  3)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพ ล   และสามารถคาดทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริ การ ณ โรงพยาบาลวังเจ้า โดยใช้กรอบแนวคิดของเฮ้าส์ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การสนับส นุนทางด้านอารมณ์การสนับสนุนด้านการประเมิน การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารและการส นับสนุนด้านสิ่งของและบริการกลุ่มตัวอย่างคือ  มีสมาชิกในครอบครัวที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจำนวน 54 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉ ลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบค่าไคสแควร์กับค่าสัมประสิทธิ์  สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอย

          ผลการศึกษา พบว่า 1) การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว รายด้านการสนับสนุนทางสังคม ด้านสิ่งของและบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมาคือการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ส่วนการสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในภาพรวม  พบว่า มี เกินครึ่งของผู้ดูแลผู้ป่วยมีการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชอยู่ในระดับสูง 2) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  พบว่า รายได้เฉลี่ยของครอบครัวและลักษ ณะการอยู่อาศัยของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ และ  3)เมื่อวิเคราะ ห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล   และสามารถทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิต เวช พบว่า  สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถคาดทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชซึ่งได้ร้ อยละ 70.8

          ข้อเสนอแนะเน้นเรื่องการดูแลผู้ป่วยแก่สมาชิกในครอบครัว โดยการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวจัดฝึกอบรมทักษะการดูแลผู้ป่วยเมื่ออยู่ที่บ้าน การเยี่ยมบ้านและควรมีการจัดทำคู่ มือปฏิบัติสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน เน้นเรื่องการสร้างสัมพันธ์ภาพของสมาชิกที่มีในครอบครัว  เช่น การจัดกิจกรรมหรือแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยญาติมีส่วนร่วม พัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ การเข้าใจผู้ป่วย ครอบครัวที่เป็นครอบครัวขยาย ควรจะเน้นการส่งเสริมสัมพันธ์ภาพและบทบาทต่อผู้ป่วยของสมาชิกคนอื่นๆ เนื่องจากผลการวิจัยสนับ สนุนว่าแรงสนับสนุนสูงในครอบครัวเดี่ยว

References

จิระภา ขำพิสุทธิ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7(4) (ตุลาคม-ธันวาคม, 2564), 17-28.

ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ. (2564). การรับรู้ถึงโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่มีผลต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคฯ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน อสม. ในอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 10 (1) (มกราคม–มิถุนายน 2564); 77.

ตวงพร กตัญญุตานนท และคณะ. (2564) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ. 7(1) ( มกราคม-มิถุนายน 2564); 8-20.

วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลตอการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 4(2) (มกราคม-มิถุนายน 2564); 63.

วิทยา ชินบุตร, และคณะ (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(2) (กุมภาพันธ์ 2564); 305.

WHO. (2563). WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard. https://covid19.who.int/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2023