ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลัน โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการกำเริบเฉียบพลัน, การวางแผนจำหน่ายบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน โดยใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลัน ประกอบด้วย 4 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 ประเมินความสามารถในการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลัน โดยประเมินตามรูปแบบ D-METHOD กิจกรรมที่ 2 กำหนดข้อวินิจฉัยปัญหาผู้ป่วยแต่ละราย จากการประเมินตามกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 3 วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายโดยการสอนและให้ความรู้ตามปัญหาของผู้ป่วยที่วินิจฉัยได้ โดยใช้แผนการสอน ภาพพลิก คู่มือการส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กิจกรรมที่ 4 ประเมินติดตามผู้ป่วยทางโทรศัพท์ เพื่อสอบถามความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตัวและปัญหาอุปสรรคในการจัดการอาการกำเริบเฉียบพลันของตนเอง ติดตามสัปดาห์ ละ 1 ครั้ง ระยะเวลาดำเนินการ พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 ใช้สถิติ Independent t-test เปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองผลการวิจัย พบว่า ความสามารถการประเมินประสบการณ์การมีอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (P-value < 0.001) ความสามารถในการจัดการและควบคุมอาการหายใจลำบากด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (P-value < 0.001) และการรับรู้สภาวะของอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (P-value < 0.001) ตามลำดับ
References
กนก พิพัฒน์เวช และศิริพร อุปจักร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 กับอาการกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(4): 645-653.
กนกวรรณ อนุศักดิ์, รัตนนุช มาธนะสารวุฒิ, โภคิณ ศักรินทร์กุล, และวิชุดา จิรพรเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. วารสารกรมการแพทย์. 46(4): 67 – 73.
กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.(2539). แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
งานศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลเชียงแสน. (2566). สถิติผู้รับบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลเชียงแสน. เชียงราย: โรงพยาบาลเชียงแสน.
นุชรัตน์ จันทโร. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนนการจัดการตนเองต่อความสามารถในการจัดการอาการและอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ปริญญาโทมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
พนาวรรณ บุญพิมล, สุภาภรณ์ ด้วงแพ และวัลภา คุณทรงเกียรติ. (2558). ปัจจัยทำนายอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารคณะพยาบาลศษสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 23(1): 26-39.
วิภาณี คงทน, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คะนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, และนัฐพล ฤทธิ์ทยมัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: การศึกษาไปข้างหน้า. วารสารสภาการพยาบาล. 34(3): 76 – 90.
สถิติสุขภาพคนไทย. (2564). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. https://www.hiso.or.th/thaihealthstat.
อาดีละห์ สะไร. (2559). ผลของโปรแกรมการบูรณาการการวางแผนจำหน่ายร่วมกับประสบการณ์อาการต่อความสามารถในการจัดการอาการและสภาวะอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., & Taylor, D. (2001). Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing. 33(5), 668-676.
Reis, A. J., Alves, C., Furtado, S., Ferreira, J., Drummond, M., & Robalo-Cordeiro, C. (2018). COPD exacerbations: Management and hospital discharge. Pulmonology. 24(6), 345–350.
World Health Organization. (2023). Chronic obstructive pulmonary disease (COPD). https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.