ผลของการใช้โปรแกรม Chiang Saen triage Score ต่อความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
โปรแกรม, การคัดแยกผู้ป่วย, อุบัติเหตุฉุกเฉินบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรม Chiang Saen triage Score ต่อความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าพนักงานสาธารณสุข (เวชกิจฉุกเฉิน) ที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกผู้ป่วย ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเชียงแสน จำนวน 30 คน โปรแกรม Chiang Saen triage Score ในการคัดแยกผู้ป่วย ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในการคัดแยกระดับความรุนแรงของกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการคัดแยกระดับความรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.009) ความถูกต้องต่อการคัดแยกผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างสามารถคัดแยกผู้ป่วยได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ก่อนการทดลอง (57.8%) หลังการทดลองเพิ่มขึ้น (85.9%) กลุ่มตัวอย่างที่คัดแยกไม่ถูกต้องมีจำนวนลดลง โดยก่อนการทดลองคัดแยกไม่ถูกต้อง (42.2%) และหลังการทดลองการคัดแยกไม่ถูกต้อง (14.1%) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างในการคัดแยกผู้ป่วย พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) มีการคัดแยกได้ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ (under triage) มีจำนวนลดลง ก่อนการทดลอง (22.40%) หลังการทดลอง (10.70%) และการคัดแยกได้ระดับสูงกว่าเกณฑ์ (Over triage) มีจำนวนลดลง (34.81%) และหลังการทดลองมีการคัดแยกได้ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ (Under triage) (3.91%)
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED.TRIAGE. นนทบุรี: โรงพิมพ์สานักวิชาการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ชนิดาภา ไกรธนสอน. (2022). การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใข้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. Journal of the Phrae Hospital. 30(1): 69-81.
นิตยา สุภามา. (2020). ประสิทธิผลการพัฒนารูแปบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 5(4): 65-74.
พรทิพย์ วชิรดิลก และคณะ. (2559). การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล. 31(2): 96-108.
พิมพา วีระคำ, คัคนนันท์ วิริยาภรณ์ประภาส, ศิริพร จักรอ้อม, พิชญุตม์ ภิญโญ. (2562). ประสิทธิผลของการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยตามระบบ MOPH ED Triage ต่อความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย. วารสารกรมการแพทย์. 44(5): 70-74.
เมตตา สุทธิพรไพศาลกุล กิตติพร เนาว์สุวรรณ อัจฉรา คำมะทิตย์ นภชา สิงห์วีรธรรม และมลฤดี วรรณพนม. (2566). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรม Thabo Crown Prince hospital Emergency Severity index (TCPH ESI) ในการคัดแยกผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 6(1): 1-9.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2558). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนดฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สภาการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Bloom, B.S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw –Hill.
Gilboy, N., Tanabe, P., Travers, D., & Rosenau, A. M. (2011). Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition. Rockville: Agency for Healthcare Research and Quality.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.