ผลของการให้ความรู้ตามโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันวัณโรคในผู้สูงอายุ อำเภอขุนตาล

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร กาวิโล โรงพยาบาลขุนตาล

คำสำคัญ:

ผลของการให้ความรู้, การป้องกันวัณโรค, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ตามโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันวัณโรคในผู้สูงอายุ อำเภอขุนตาล กลุ่มทดลองเป็นผู้สูงอายุ อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันวัณโรค และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ 30 คนต่อกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันวัณโรคจำนวน 4 กิจกรรม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square, Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย เพิ่มขึ้นเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้การป้องกันวัณโรคปอด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และด้านพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด (P-value= 0.008, 0.001, 0.024 ตามลำดับ)

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2566). แนวทางการสอบสวนควบคุมวัณโรค. (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ฐิติมา ถมทอง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคในเขตอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงพยาบาลขุนตาล. (2565). สรุปผลการดำเนินงานกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมปีงบประมาณ 2565. เอกสารอัดสำเนา. จังหวัดเชียงราย.

อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2566) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มพฤตพลัง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 4(2): 1-12.

เอกพันธ์ คำภีระ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2564).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน.พยาบาลสาร. 48(1): 174-186.

Bandura, Albert. And Schunk, D. H. (1981). Cultivating competence self-efficacy and intrinsic interest throung proximal self-motivation. Journal of Personality and Social Psychology.

Bandura, Albert. (1986). SOCIAL FOUNDATIONS OF THOUGHT AND ACTION: A SOCIAL COGNITIVE THEORY. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Green, L. W. and Kreuter, M. W. (1991). Health promotion plaining: and environmentalapproach. Toronto: Mayfied Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-01-2024