ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • สุเปรม หนูเมือง โรงพยาบาลสุโขทัย

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, พฤติกรรม, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 248 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้ใช้ KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.78 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขและพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.79, 0.83 , 0.78, 0.85 และ 0.89  ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

             ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.0  สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 55.6 มีอายุเฉลี่ย 42.01±9.66 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 56.0 มีประสบการณ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อเฉลี่ย 10.76 ±11.01 ปี มีพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.5 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองสุโขทัย ได้ทั้งหมด 3 ตัวแปร ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (p < 0.001, β = 0.519) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (p < 0.001, β = 0.483) การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ(p< 0.001, β = 0.424) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร ได้ร้อยละ 42.8  ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้มีความเหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรของเครือข่ายสุขภาพอำเภอละหน่วยบริการสาธารณสุข

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน. นนทบุรี.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2565). กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ. (2562). แผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564). https://www.mnre.go.th/reo12/th/news/detail/3933/.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(1): 181.

สรรพสิทธิ์ แก้วเฮ้า. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 10(1): 93-103.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2566). รายงานประจำปี 2566. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.

ธงชัย มั่งคง. (2559). พฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 13(1): 37.

พัชราพร ภู่เอี่ยม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสียอันตรายในครัวเรือนของประชาชน ในตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. พิษณุโลก: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วริษฐา แสงยางใหญ่และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชน ในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 12(1): 76-87.

อธิญาภรณ์ นิธิปัญญากุล, ณิชนันท์ แก้วกุดเลาะ, วรรณา วรรณศรี, อำไพ หุ่นธานี และจิรรัชวัลคุ์ ทรงสุวรรณวิภา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ . วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา. 7(2): 204.

Bloom B.S. (1975). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.

Daniel. (1995). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City: N.J.

Becker M.H., & Maiman, L.A.. (1975). The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2 winter, 336-385.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-01-2024