การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้สารสกัดจากใบเตยหอมและถั่วเหลืองฝักสด ในการล่อดักจับแมลงในระบบนิเวศนาข้าว

ผู้แต่ง

  • กีรติ ตันเรือน
  • วิษณุ ธงไชย
  • ยุทธศักดิ์ แช่มมุ่ย
  • วิโรจน์ ลิขิตตระกูลวงศ์
  • พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ

คำสำคัญ:

สารสกัด, สารล่อ, ใบเตยหอม, ถั่วเหลืองฝักสด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          แมลงศัตรูในนาข้าวถือปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการจัดการข้าวตั้งแต่ปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว โดยการจัดการทั่วไปมักมีการใช้สารเคมีในระบบ เป็นผลทำให้ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศนาข้าวและสุขภาพของเกษตรกรเอง ดังนั้นทางเลือกหนึ่งของการควบคุมป้องกันกำจัดแมลงในนาข้าวอาจเลือกใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพเป็นทั้งเป็นทั้งสารไล่หรือล่อแมลงร่วมด้วย ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดจากใบเตยหอมและถั่วเหลืองฝักสดในการล่อดักจับแมลงด้วยกับดักขวดพลาสติก ทำการวางกับดักขวดพสาสติกที่ออกแบบอย่างเป็นระบบในนาข้าวในระยะข้าวแตกกอ จำนวน 3 กับดักต่อแปลงจำนวน 3 แปลง และทำการติดตามผลเป็นเวลา 3 วัน พบแมลง โดยรวมทั้งสิ้น 12 ชนิด จาก 10 วงศ์ ใน 5 อันดับ พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (วงศ์ Delphacidae) เพลี้ยจักจั่นปีกลายหลัก และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว (วงศ์ Cicadellidae) เป็นกลุ่มที่มีร้อยละของการปรากฎมากที่สุด 3 อันดับแรกในแต่ละกับดักขวดที่มีสารแต่ละชนิด เมื่อสิ้นสุดการสำรวจยังพบว่ากราฟสะสมชนิดของแมลงในนาข้าวที่สำรวจได้ยังคงมีจำนวนคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นไปได้ว่าหากมีการสำรวจเพิ่มเติมจะมีจำนวนชนิดของแมลงในกับดักเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แสดงให้เห็นว่าการใช้กับดักขวดพลาสติกมีใส่สารสกัดใบเตยหอม และ ถั่วเหลืองฝักสด มีศักยภาพในการดักล่อจับแมลงได้ ทั้งนี้สามารถนำไปวางแผนต่อการจัดการในระบบการเกษตรแบบบูรณาการต่อไป

คำสำคัญ : สารสกัด, สารล่อ, ใบเตยหอม, ถั่วเหลืองฝักสด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024