รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านส้มเสี้ยว ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วิทวัส มุขพิทักษ์กุล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวาน, รูปแบบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (2) พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วย และ (3) ประเมินรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านส้มเสี้ยว ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 298 คน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดีมาก ยกเว้นพฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง แรงสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับมาก ทัศนคติของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนของผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ทั้งความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระดับบุคคล พบว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจาก แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และทัศนคติของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 40.40 (3)รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ 2) ความเหมาะสมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3) การพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ 4) การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 5) สร้างการรับรู้สมรรถนะและความความสามารถของผู้สูงอายุ 6) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ดี (4) ผลการประเมินรูปแบบพบว่าอยู่ในระดับสูง ทั้งด้านความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม จึงสามารถนำรูปแบบไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024