การศึกษาความสัมพันธ์ของผลการตรวจ HPV DNA test กับผลการตรวจทางพยาธิวิทยา ในโรงพยาบาลบางละมุง

ผู้แต่ง

  • อรัญญา โยธาทูล
  • ธีรวัสส์ อารีรัตนชัย
  • อัญชลี สิงห์ศักดา

คำสำคัญ:

ความชุก, การติดเชื้อไวรัส Human papillomavirus (HPV), HPV DNA test, Colposcopy

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาความชุกการติดเชื้อ HPV ในผู้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการตรวจ HPV DNA test กับผลการตรวจทางพยาธิวิทยา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่เข้ารับบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA test ในโรงพยาบาลบางละมุง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 จำนวน 1,575 ราย เก็บข้อมูลจากฐานของโรงพยาบาลบางละมุง ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป, ผลการตรวจ HPV ด้วยวิธี HPV DNA test, ผลการตรวจด้วยวิธี liquid based cytology (LBC) และผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธี Colposcopy วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลการตรวจ HPV DNA test กับความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูก ผลการวิจัยพบว่า ความชุกในการติดเชื้อ HPV ของสตรีโรงพยาบาลบางละมุง คิดเป็นร้อยละ 13.65 HPV non 16, 18 มีอัตราการติดเชื้อมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 10.03 และเมื่อตรวจด้วยวิธี liquid-based cytology พบความชุกของผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติร้อยละ 39.24 และความผิดปกติมากที่สุดเป็นชนิด ASC-US Cervix ร้อยละ 17.09 ในขณะที่การตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธี Colposcopy พบว่า ชนิดของเซลล์ที่มีความผิดปกติมากที่สุด คือ LSIL คิดเป็นร้อยละ 11.02 รวมถึงไม่พบความสัมพันธ์ของผลการตรวจ HPV DNA test ที่มีการติดเชื้อ HPV กับความผิดปกติของผลการตรวจทางพยาธิวิทยาด้วยวิธี Colposcopy อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.46) ผลจากการศึกษานี้สนับสนุนให้มีการตรวจหาเชื้อ HPV (HPV DNA test) ร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา เพื่อให้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

เอกสารอ้างอิง

เกื้อหนุน บัวไพจิตร. (2561). ความสัมพันธ์ของผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับผลการตรวจทาง

พยาธิวิทยาในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 1-11.

ธิดารัตน์ มละสาร. (2565). ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าของสตรีใน

พื้นที่ อำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(4), 144-22.

นิธิศดา บุญธรรม และสมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ. (2554). ความชุก ชนิด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติด

เชื้อ HPV ในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่โรงพยาบาลรามาธิบดี.

Ramathibodi Medical Journal, 44 (3), 12-19.

เนตรชนก ไวโสภา. (2564). ความชุกการเกิดมะเร็งปากมดลูกในโรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-

วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 113-122.

ศิริญญา เพชรพิชัย, ณัฐพร คล้ายคลึง และอนุกูล บุญคง (2565). การประเมินประสิทธิผลแนวทางการ

ตรวจหาสารพันธุกรรม Human Papillomavirus 14 High Risk Types ด้วยวิธี Real Time

PCR ร่วมกับการตรวจความผิดปกติทางเซลล์วิทยา และ Colposcopy. วารสารเทคนิคการแพทย์, 50(1), 8068-8079.

ศิริญญา เพชรพิชัย, ณัฐพร คล้ายคลึง, อมรรัตน์ โพธิ์ตา, อนุกูล บุญคง และปาริชาติ กัญญาบุญ. (2564).

ความชุกของการติดเชื้อ Human papillomavirus สายพันธุ์เสี่ยงสูงของสตรีไทยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(4), 766-781.

ศุลีพร แสงกระจ่าง. (2565). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV

DNA test ปีงบประมาณ 2566. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 3-5

Adamopoulou M, Kalkani E, Charvalos E, Avgoustidis D, Haidopoulos D, Yapijakis C. (2009).

Comparison of cytology, colposcopy, HPV typing and biomarker analysis in cervical neoplasia. Anticancer Res, 29(8), 3401-9.

Aromseree S, Chaiwongkot A, Ekalaksananan T, Kongyingyoes B, Patarapadungkit N, Pientong

C. (2014). The three most common human papillomavirus oncogenic types and their integration state in Thai women with cervical precancerous lesions and carcinomas. J Med Virol, 86(11), 1911-9.

Boonthum, N., & Suthutvoravut, S. (2021). Prevalence, Types, and Factors of HPV Infection

Among Women With Abnormal Cervical Cytology Screening at Ramathibodi Hospital. Ramathibodi Medical Journal, 44(3), 12–19.

Campos-Romero A, Anderson KS, Longatto-Filho A, et al. (2019). The bunden of 14 hr-HPV

genotypes in women attending routine cervical cancer screening in 20 states of Mexico: a cross-sectional study. Scientific Report, 9, 10094.

Guan P, Howell-Jones R, Li N, Bruni L, de Sanjosé S, Franceschi S, Clifford GM. (2012). Human

papillomavirus types in 115,789 HPV-positive women: a meta-analysis from cervical infection to cancer. Int J Cancer, 131(10), 2349-59.

Marks MA, Gupta S, Liaw KL, Tadesse A, Kim E, Phongnarisorn C, et al. (2015). Prevalence

and correlates of HPV among women attending family-planning clinics in Thailand. BMC Infect Dis, 15, 159.

Monteiro JC, Tsutsumi MY, de Carvalho DO, da Silva Costa EDC, Feitosa RNM, Laurentino RV,

de Souza Fonseca RR, Silvestre RVD, Oliveira-Filho AB, Machado LFA. (2022). Prevalence, Diversity, and Risk Factors for Cervical HPV Infection in Women Screened for Cervical Cancer in Belém, Pará, Northern Brazil. Pathogens, 11(9), 960.

Phoolcharoen N, Kantathavorn N, Sricharunrat T, Saeloo S, Krongthong W. (2017). A

population-based study of cervical cytology findings and human papillomavirus infection in a suburban area of Thailand. Gynecol Oncol Rep, 21,73-7.

Świderska-Kiec J, Czajkowski K, Zaręba-Szczudlik J, Kacperczyk-Bartnik J, Bartnik P, Romejko-

Wolniewicz E. (2020). Comparison of HPV Testing and Colposcopy in Detecting Cervical Dysplasia in Patients With Cytological Abnormalities. In Vivo, 34(3), 1307-1315.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024