ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30–60 ปี เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การตรวจคัดกรอง, มะเร็งปากมดลูกบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี ประชากรคือ สตรีอายุ 30–60 ปี เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 862 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 280 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (60%) ( =2.88, S.D.=0.53) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30–60 ปี เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.228, P-value<0.001)
References
เอกสารอ้างอิง
กานดา สีดา, ชลธิชา ทิพย์เมศ, ปัทมา พลอยสว่าง, ปภาวิน แจ่มศรี, ปริณดา แพ่งเมือง. (2566). การประเมิน ความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร.วารสารวิชาการกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ; 19(20): 49-58.
เกษศรินทร์ วัชระพิมลมิตร และ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ .(2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อการตรวจคัด
กรองโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิงในตำบล หนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 4(3): 31-43.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์: 228.
ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ของสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล; 35(2): 95-108.
ปิยปราชญ์ รุ่งเรือง, รุจิรา ดวงสงค์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ของสตรีอายุ30–6 ปีในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาล
สกลนคร;48-55.
เพ็ญนิภา ชำนาญบริรักษ์, เพ็ชรศักดิ์ อุทัยนิล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการ ตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา. มหาสารคาม. 59-70.
พรรณี ปิ่นนาค. (2563). เหตุผลและปัจจัยของการไม่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : กรณีศึกษา สตรีอายุ 30-60 ปี ในตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทาง
สุขภาพ; 3(1): 118-131.
ศิริรัตน์ เพียขันทา, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านต่อการรับรู้ป้องกันโรคและการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารสุขภาพและศึกษาพยาบาล; 28(2): 1-16.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์.
ภูนรินทร์ สีกุด, มะลิวัลย์ บางนิ่มน้อย, ซาลินี มานะยิ่ง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 36(1): 37-47.
อรทัย วิเชียรปูน, วุฒิชัย จิรา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปาก มดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ; 13(2): 250-258.
Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall.
Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences.
(9thed). New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.