การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ในโรงพยาบาลถลาง

ผู้แต่ง

  • จริยาภรณ์ เชาว์สมชาติ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเด็ก, ภาวะปอดอักเสบ, การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงและอำนาจการทำนายของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาลถลาง ศึกษาในผู้ป่วยเด็กอายุ 1 วันถึง 15 ปีที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และมารับการรักษาที่โรงพยาบาลถลาง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 26 ตุลาคม 2566 จำนวน 552 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Schlesselman, 1974 ได้กลุ่มตัวอย่าง 320 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันไคสแควร์ และสมการถดถอยโลจิสติกส์แบบพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาลถลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย อายุ อาการหายใจเหนื่อย และความเข้มข้นออกซิเจนต่ำ ปัจจัยที่สามารถทำนายการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปีที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาลถลาง ประกอบด้วย ช่วงอายุ 1 วันถึงน้อยกว่า 5 ปี (P-value= 0.031, 95% CI= 1.103-7.417) อาการหายใจเหนื่อย (P-value= 0.037, 95% CI= 1.096-17.105) และ ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดต่ำ (P-value= 0.008, 95% CI= 2.028-119.391) ดังนั้น ผู้วิจัยจะนำตัวแปรจากผลการวิจัยนี้มาค้นหาแนวทางการคาดคะเนล่วงหน้าและติดตามผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปอดอักเสบอย่างใกล้ชิด และเพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างรวดเร็ว

References

เอกสารอ้างอิง

ศิริวรรณ จิตต์ไชยวัฒน์. (2554). อุบัติการณ์ ลักษณะทางคลินิก และผลการรักษาของผู้ป่วยปอดอักเสบจาก เชื้อไวรัส Influenza ของเด็กที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 26, 423-436.

อ้อยทิพย์ ยาโสภา. (2566). รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย พ.ศ. 2566 ประจำสัปดาห์ที่ 36. กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2566). แจ้งเตือนสถานการณ์โรค ไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มการระบาด

เพิ่มขึ้นมาก. กรมควบคุมโรค

Don, M., Fasoli, L., Paldanius, M., Vainionpa, R., Kleemola, M., Raty, R.,… Canciani, M. (2005).

Aetiology of community-acquired pneumonia: Serological results of a paediatric survey. Scandinavian Journal of Infectious Diseases, 37, 806-812. https://doi:10.1080/00365540500262435

Garg, S., Jain, S., Dawood. F.S., Jhung, M., Pérez, A., D’Mello, T.,… Finelli, L. (2015). Pneumonia among adults hospitalized with laboratory-confirmed seasonal influenza virus infection-United States, 2005–2008. BMC Infectious Diseases, 369, 1-9. https://doi:10.1186/s12879-015-1004-y

Lim, W.S. (2007) Pandemic flu: clinical management of patients with an influenza-like illness during an influenza pandemic. Thorax, 62, 1-46. https://doi:10.1136/thx.2006.073080

World Health Organization. [WHO] (2023). Influenza (Seasonal). Retrived November 26, 2023, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024