การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของไตผิดปกติในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านแบบรวมเม็ด (TLD) ในคลินิก ARV โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • พญ. สโรชา งานวิวัฒน์ถาวร

คำสำคัญ:

การทำงานของไต, ยาต้านแบบรวมเม็ด (TLD), คลินิก ARV โรงพยาบาลถลาง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นแบบเชิงวิเคราะห์ (Retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของไตผิดปกติในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านแบบรวมเม็ด (TLD) ในคลินิก ARV โรงพยาบาลถลาง จังหวัดภูเก็ต ประชากรคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในคลินิก ARV โรงพยาบาลถลาง ระหว่าง ปี พ.ศ. 2565-2566 จำนวน 522 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Cochran’s (1977) formula เท่ากับ 222 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ HosXP ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการก่อนและหลังการเริ่มยาต้านแบบรวมเม็ด TLD ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค มากกว่า 0.5 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ยาต้านแบบรวมเม็ด (TLD) โดยใช้สถิติ paired t-test พบว่า ค่าการทำงานของไต (eGFR) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) โดยการทำงานของไต(eGFR) มีค่าเฉลี่ยก่อนเริ่มยาอยู่ที่ 99.98 ml/min/1.73m2 SD 15.60 หลังได้รับยาต้านแบบรวมเม็ด (TLD) ไป 9 เดือน พบว่าค่าเฉลี่ยการทำงานของไตลดลงเหลือ 83.86 ml/min/1.73m2 SD 18.12 การวิเคราะห์ข้อมูลหาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของไตผิดปกติในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านแบบรวมเม็ด (TLD) โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของไตผิดปกติในคลินิก ARV โรงพยาบาลถลาง ประกอบด้วย อายุ (P-value = 0.024) และสูตรยาต้านที่ใช้ก่อนเริ่มยา TLD (P-value = 0.035)

References

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์รวมรวบข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (2022). Thailand: HIV Info Huสถานการณ์โรค

เอชไอวีประเทศไทย [updated 2022 April 27; cited 2022 Nov 27]. Available from:

https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีประเทศไทย ปี 2564/65 (2565).

พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2565. 292

The Joint United Nations Program on HIV/AIDS. [UNAIDS] (2022). [cited 2022 Nov 4]. Available

from: https://unaids.org/en

Koteff J, Borland J, Chen S, et al (2013). A phase 1 study to evaluate the effect of dolutegravir

on renal function via measurement of iohexol and para-aminohippurate clearance in

healthy subjects. Brit J Clin Pharmacol. 75(4):990–996

Wassner C, Bradley N, Lee Y (2020). A review and clinical understanding of tenofovir: tenofovir

disoproxil fumarate versus tenofovir alafenamide. J Int Assoc Provid AIDS Care. 2020;

:2325958220919231

Shirley X. Jiang, John Duncan, Hin Hin Ko (2023). “Acquired Fanconi Syndrome from Tenofovir

Treatment in a Patient with Hepatitis B", Case Reports in Hepatology, vol. 2023.

https://doi.org/10.1155/2023/6158407

Doshi, S., Ucanda, M., Hart, R., Hou, Q., Terzian, A. S., & DC Cohort Executive Committee (2019).

Incidence and Risk Factors for Renal Disease in an Outpatient Cohort of HIV-Infected

Patients on Antiretroviral Therapy. Kidney international reports, 4(8), 1075–1084.

https://doi.org/10.1016/j.ekir.2019.04.024

Li, Y., Shlipak, M. G., Grunfeld, C., & Choi, A. I. (2012). Incidence and risk factors for acute kidney

injury in HIV Infection. American journal of nephrology, 35(4), 327–334.

https://doi.org/10.1159/000337151

Cottrell ML, Hadzic T, Kashuba AD (2013). Clinical pharmacokinetic, pharmacodynamic and

drug-interaction profile of the integrase inhibitor dolutegravir. Clin Pharmacokinet.

:981-94.

Kolakowska A, Maresca AF, Collins IJ, Cailhol J (2019). Update on adverse effects of HIV integrase inhibitors. Curr Treat Options Infect Dis. 11:372-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024