ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วย ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) ที่มารับบริการกายภาพบำบัดโรงพยาบาลถลาง จ.ภูเก็ต
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยข้อไหล่ติด, โปรแกรมการออกกำลังเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยข้อไหล่ติด, การออกกำลังกายที่บ้านบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder) ที่มารับบริการกายภาพบำบัดโรงพยาบาลถลาง จ.ภูเก็ต ประชากรคือ ผู้ป่วยข้อไหล่ติดที่มารับบริการกายภาพบำบัดโรงพยาบาลถลางระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2566 จำนวน 69 คน โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 42 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์คัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถาม โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ส่วนที่1 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจต่อพฤติกรรม และวิธีการรักษาโรคข้อไหล่ติด ส่วนที่3 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยข้อไหล่ติด ส่วนที่4 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยข้อไหล่ติด แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.776 และทดลองโดยใช้โปรแกรม 4 กิจกรรมบันทึกลงแบบบันทึกการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent t- test
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจต่อพฤติกรรม และวิธีการรักษาโรคข้อไหล่ติด พฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยข้อไหล่ติด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยข้อไหล่ติด ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง (P-value=0.536, P-value=0.070) ตามลำดับ แต่หลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.001), (P-value=0.001) และ (P-value=0.028) ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยพบว่า องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่และระดับความเจ็บปวดมีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.001) ตามลำดับ และ พบว่า องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่และระดับความเจ็บปวดมีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองของกลุมทดลองแตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.003)
References
เอกสารอ้างอิง
Chul-Hyun Cho, Ki-Choer Bae, Du-Han Kim. (2019). Treatment Strategy for Frozen Shoulder.
Clin Orthop Surg: 11(3):249–257.
C Whelton, C A Peach. (2018). Review of diabetic frozen shoulder. Eur J Orthop Surg
Traumatol: 28(3):363-371.
Hui Bin Yvonne Chan, Pek Ying Pua, Choon How How. (2017). Physical therapy in the
management of frozen shoulder. Singapore Med J: 58(12):685–689.
Nasri Hani Zreik, Rayaz A Malik, Charalambos P Charalambous. (2016). Adhesive capsulitis of
the shoulder and diabetes: a meta-analysis of prevalence. Muscles Ligaments Tendons J: 6(1):26-34.
Thitima Kanokpran, RN, MNS1, Pongsri Srimoragot, DNS2, Siriorn Sindhu, PhD2, Suebwong
Chuthapisith, PhD. (2014). Effects of a Self-regulation Home-based Shoulder Exercise Program on Range of Motion and Functions of Shoulder Joints in Patients Post Breast Cancer Surgery. J Nurs sci: 32:74-84.
กาญจนา คิดดีจริง, เพ็ญศิริ จันทร์แอ, นครินทร์ ศรีปัญญา, สุนิสา อินทะเสย์, อภิวัตร กาญบุตร, ทัณฑิกา แก้ว
สูงเนิน. (2563). นวัตกรรมเครื่องยืดเหยียดข้อไหล่ด้วยตนเองเพื่อบรรเทาอาการปวดของโรคหัวไหล่ติด Innovation of Self Shoulder Joint Stretching Machine to Relieve Frozen Shoulder.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน: 2:449-59.
ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์. (2560). อาการปวดและความผิดปกติของข้อไหล่ที่พบบ่อยในเวชศาสตร์ฟื้นฟู. Chula
Med J: 61(2):205-21.
ธีรภัทร์ รักษาพล. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ร่วมกับการ
รักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิม กับการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบเดิมในผู้ป่วยข้อไหล่ติด ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม: 18(3):27-39.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.