ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งของอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ทับไทร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, นักเรียน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียน ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ความรู้และทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งของอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ประชากรคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่ง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ.2567 จำนวน 713 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 275 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียน ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครอง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งของอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย เพศของนักเรียน (P-value<0.001), ศาสนาของนักเรียน (P-value=0.047), ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ (P-value<0.001) ตามลำดับ

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม

เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php.

กรมควบคุมโรค.(2566).สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เขตสุขภาพที่ 11 ฉบับที่2. [อินเตอร์เน็ต].

สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566.

เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1513420231224044326.pdf.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2565).ความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.[อินเตอร์เน็ต].

สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566.เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=23335&deptcode=brc&news_views=148.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม

เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php.

มาลี สบายยิ่ง.(2560). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมสมัยใหม่.

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัฒนา สาระขวัญ.(2545).ปัจจัยที่มีผลที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ขแงนักเรียนหญิงระดับ

มัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตเมืองและชนบท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยเกษตรศาสตร์

สุปราณี บุญเพ็ชร.(2544). ทบทวนองค์ความรู้สุขภาพวัยรุ่นไทยและการวิเคราะห์กลไกการพัฒนา ระบบ

สุขภาพวัยรุ่นไทย. รายงานทบทวนงานวิจัยเสนอสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วัฒนา สาระขวัญ.(2545).ปัจจัยที่มีผลที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ขแงนักเรียนหญิงระดับ

มัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตเมืองและชนบท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยเกษตรศาสตร์

Ajzen, I., Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social

behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Best, John W. (1977). Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice

Hall.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health

Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons.

Green, L.W., Kreuter, M.W. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and

Environment Approach. California: Mayfield Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024