ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อธิพงษ์ สุขเพ็ญ
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านสุขภาพ, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการรักษาคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน ตำบลหนองดะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 229 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 150 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.93วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ประโยชน์การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรับรู้อุปสรรคการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (54.62%) ( =2.48, S.D.=0.620) การรับรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.188, P-value=0.021)

References

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข .(2565).ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพ

บริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ.2563-2566.นนทบุรี:ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2565).คู่มือการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.

ส. ของแกนนำสุขภาพ.นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา.

รัชนี ปลั่งกลาง. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่

ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและ

สิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนครสวรรค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 1(2) :

-100.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาจาน.(2566).รายงานสรุปผลการดำเนินงานปรงบประมาณ 2566.

พิษณุโลก:ไม่ปรากฎสถานที่พิมพ์.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช

กุมารี และสมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย .แนวทางสำหรับเวชปฏิบัติโรคเบาหวาน ปี

(2566). กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เขตอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารควบคุมป้องกันโรคที่ 7 ขอนแก่น. 27(2): 44-54.

Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row.

Health Data Center (HDC). (2566). กลุ่มรายงานมาตรฐาน( ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรค

ไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). สืบค้น1 ตุลาคม2566.จากhttps://plk.hdc.moph.go.th/

hdc/reports/ page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec 16a599d882b.

Orem, D.E. (1991). Nursing: Concepts of practice (4th ed.). St. Louis: Mosby Year Book.

Rosenstock. (1974). History origins of the health belief model: Health Education

Monogra

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-06-2024