ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อรอุมา พลซา
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยง, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ประชากรคือประชาชนที่มีอายุ 15-59 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนในปีงบประมาณ 2566 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 351 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 193 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ.2 ส. แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.837 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ การจัดการตนเองด้านสุขภาพ การตัดสินใจด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (85%) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพคะแนนตามหลัก 3 อ.2 ส.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.189, P-value=0.009)

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข (2566). ระบบข้อมูลสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก Health Data

Center HDC. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566.จาก http://plk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

กองสุขศึกษา. (2561). ทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ.แหล่งที่มา :

file:///C:/Users/Acer/Downloads/26092016134911495_linkhed%20(1).pdf, 15 มีนาคม

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข . (2565). รายงานประจำปี NCDs 2565. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กิติวัตร บุญทอง. (2566). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยกรวด

ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.การเผยแพร่ผลงานวิชาการผ่านเว็บไซต์ของ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี Link4418102566.ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566.

ภฤดา แสงสินศร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อ

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสำนักงาน

สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร: ปีที่2 ฉบับที่ 2/2564 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564). ค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2566.

จาก http://www.ppho.go.th/webppho/research/y2p2/b05.pdf.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2564).สร้างองค์ความรู้ สู่การพัฒนา ระบบสุขภาพไทย รายงานประจำปี

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.(พิมพ์ครั้งที่1). นนทบุรี.บริษัท ดีเซมเบอรี จำกัด,2565.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติ

ทั่วไป พ.ศ.2562 2019 Thai Guidelines on The Treatment of Hypertension. (พิมพ์ครั้ง

ที่ 1). สำนักพิมพ์ ทริค ธิงค์.

อัญชลี ตรีลพ .(2563).การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2 ส. กลุ่มเสี่ยง

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. สำนักงานสาธารณสุข

จังหวัดสิงห์บุรี.

Best, J.W. (1977). Research is Evaluation. (3 rd ed.). Englewood cliffs : N.J. Prentice Hall. Cronbach. (1997). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health

Sciences. (9thed.). New York : John Wiley & Sons.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary

healtheducation and communication strategies into health 21st century. Health

Promotion International. 15(8) printed in Great Britain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2024