ประสิทธิผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ตำบลไหล่หินอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เพียงเดือน สันวงศ์
  • บุศรินทร์ ผัดวัง
  • ศิริรัตน์ ผ่านภพ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคหลอดเลือดสมอง, กลุ่มเสี่ยง, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง รูปแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงระหว่างก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไหล่หิน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การเข้า จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ใช้เวลา 12 สัปดาห์ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 3) แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) และระดับความดันโลหิตช่วงบน ความดันโลหิตช่วงล่าง ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีผลทำให้พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวลดลง

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. (2567). อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 2564-2566. [Online]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2567. เข้าถึงจาก: https://hdcservice.moph.go.th/

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 2564-2566. [Online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567. เข้าถึงจาก: https://hdcservice.moph.go.th.

เชาวลิต สันวง์ตา, วิชิตพงษ์ วงศ์เรือน, ศิริรัตน์ ผ่านภพ. (2566). ผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือด สมองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอเกาะคา จังหวัด ลำปาง. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 1(3): 82-96.

ประเพ็ญพร ชำนาญพงษ์, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2559). การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผุ้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูงในชุมชนกึ่งเมือง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(3): 325-340.

ปิยะนุช จิตตนูนท์, อาภรณ์ บัวเพ็ชร์, พิมพิศา ศักดิ์สองเมือง. (2565). ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 41(2): 13-25.

ปรีดี ยศดา, วาริณี เอียมสวัสกุล, มุกดา หนุ่ยศรี. (2562). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรค หลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสาร พยาบาล. 68(4): 39-48.

พรทิพย์ จอกกระจาย, ปาฬินทร์รฎา ธนาพัทธ์ธิวากุล และจุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล. (2566). รู้เท่าทัน รู้ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 29(3): 108-120.

ภคพร กลิ่นหอม, จินต์ทิพา ศิริกุลวิวะฒน์, เอกรินทร์ อ่วมอุ่ม. (2566). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริม ความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิณฑ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระเจ้าเกล้า จังหวัดเพรชบุรี. 6(2): 102-118.

วรนุช เทพาวัฒนาสุข. (2565). ความชุกของปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์ของการฟื้นฟูระดับความสามารถใน การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 6(11): 95-104.

ศิริรัตน์ ผ่านภพ, นภาเพ็ญ จันทขัมมา, มุกดา หนุ่ยศรี. (2563). ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและพัฒนระบบ สุขภาพ. 13(2): 528-538.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2565). อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 39(2): 39-46.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของ ประชากรไทย พ.ศ. 2566. นนทบุรี: บริษัท แฮนดี เพรช จำกัด.

สีไพร พลอยทรัพย์, ธัญพงศ์ สุวฒนารักษ์, จิรภฎา วานิชอังกูร. (2563). แดชไดแอท (DASH Diet) บำบัด โรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: บริษัท วี อินดี้ ดีไซน์ จำกัด.

อติพร สําราญบัว, เบญจมาศ ทําเจริญตระกูล. (2560). พฤติกรรมสุขภาพทางเลือกที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 23(2): 121-132;

Boehme, A.K., Esenwa, C. and Elkind, M.S.V. (2017). Stroke Risk Factors, Genetics, and Prevention, Circulation Research. 120(3): 1-49.

Feigin, V, L., Brainin, M., Norrving, B., Martins, S., Sacco, R, L., Hacke, W., and et al. (2022). World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2022, International Journal of Stroke. 17(1): 18-29.

Sacks, F.M. Campos, H. (2010). Dietary Therapy in Hypertension, N Engl J Med. 262(22): 2102-2112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2024