การศึกษารูปแบบและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการให้บริการผู้ป่วยในการแพทย์แผนไทย พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • จิรภัทร์ สิงห์ชัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้บริการ, งานบริการผู้ป่วยใน, โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสม (Mixed - Method Research) เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการให้บริการผู้ป่วยในการแพทย์แผนไทยที่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารองค์กร ทีมสหวิชาชีพ บุคลากรแผนกผู้ป่วยใน และผู้รับบริการ จำนวน 265 คน การเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567 โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงต่อการให้บริการที่เน้นการดูแลแบบองค์รวม และการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ โดยได้รับการตอบรับดีในรูปแบบบริการแพคเกจ 2 คืน 3 วัน อย่างไรก็ตาม พบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทางและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบบริการที่หลากหลายขึ้น การปรับปรุงสถานที่และอุปกรณ์ การใช้เทคโนโลยีสนับสนุน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับการให้บริการและเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มประชาชนทุกช่วงวัย การศึกษานี้ช่วยพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

เอกสารอ้างอิง

ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, อุบลวรรณ ขอพึ่ง. (2550). โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ : ข้อเสนอการ

จัดตั้งหน่วยบริการแพทย์แผนไทยเพื่อการสร้างคน สร้างความรู้ และการดูแลสุขภาพ แบบพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2567 จาก คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). https://kb.hsri.or.th

พระราชบัญญัติ คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542. (2542).

ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นสืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567 จากhttps://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/120/49.PDF

รัตติกาล กาวีอิ่น. (2563). การพัฒนารูปแบบการให้บริการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชน

ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

เรวดี โพธิกุดสัย และคณะ. (2558). การพัฒนาคุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์

มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลจอมพระอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 12(3), 1-10.

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2552). คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 5. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.

อัจฉรา เชียงทอง. (2559). คุณภาพและการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณพร สุริยะคุปต์. (2565). การศึกษาและพัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบโรงพยาบาล

การแพทย์แผนไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Taylor, S. A., & Baker, T. L. (1994). An assessment of the relationship between

service quality and customer satisfaction in the formation of

consumers’ purchase intentions. Journal of Retailing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

สิงห์ชัย จ. . . (2025). การศึกษารูปแบบและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อการให้บริการผู้ป่วยในการแพทย์แผนไทย พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 6(1), 214–224. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/scintc/article/view/4179