การทำศัลยกรรมปลายรากฟันร่วมกับการจัดการ ปุ่มกระดูกส่วนงอกของขากรรไกรที่มีขนาดใหญ่: รายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • ทพญ.ชญานิศ สัลเลขวิทย์ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.ทพ.สิทธิโชค โอศิริ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อ.ดร.ทพญ.วิชุรัตน์ สกุลภาพทอง ภาควิชาเวชศาตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

กระดูกส่วนงอก, การรักษาคลองรากฟันซ้ำแบบผ่าตัด, ผ่าตัดปลายรากฟัน, รอยกรีดบริเวณเยื่อหุ้มกระดูก, ศัลยกรรมปลายรากฟัน

บทคัดย่อ

การทำศัลยกรรมปลายรากฟัน เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาคลองรากฟันซ้ำเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้นโดยเฉพาะในกรณีที่มีสิ่งกีดขวางจากเดือยฟัน แกนฟันและครอบฟัน ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีข้อจำกัดทางกายวิภาค เช่น ปุ่มกระดูกส่วนงอกเข้ามาเกี่ยวข้องกับบริเวณที่จะต้องทำศัลยกรรมนั้น อาจส่งผลให้การวางแผนและขั้นตอนการรักษามีความซับซ้อนต่างจากกรณีปกติ รายงานผู้ป่วยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสำเร็จ ขั้นตอนการรักษา และความสำคัญของบทบาทการทำงานของทันตแพทย์สหสาขา ในการให้การรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีศัลยกรรมปลายรากฟัน ร่วมกับการจัดการปุ่มกระดูก

ส่วนงอกในครั้งเดียว ในผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 48 ปี ซึ่งเกิดหนองปลายรากแบบเฉียบพลัน ในฟันตัดซี่กลางบนขวาอันเป็นผลจากความล้มเหลวในการรักษาคลองรากฟันครั้งแรก โดยฟันซี่นี้มีวัสดุบูรณะเดือยฟัน แกนฟันและครอบฟันซึ่งยังอยู่ในสภาพดี มีขอบแนบสนิท ในบริเวณที่ต้องทำหัตถการผู้ป่วยมีปุ่มกระดูกส่วนงอกของขากรรไกรที่มีขนาดใหญ่ขัดขวางกระบวนการเข้าทำศัลยกรรมปลายรากฟัน และยังมีปัญหาเศษอาหารติด ทำความสะอาดยาก ผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาโดยการทำศัลยกรรมปลายรากร่วมกับการกรอแก้ไขปุ่มกระดูกส่วนงอกไปพร้อมกัน จากการติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติ ครอบฟันอยู่ในสภาพดี ไม่มีเหงือกร่น ปุ่มกระดูกส่วนงอกมีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น และจากภาพรังสีติดตามผลการรักษา พบว่ามีการหายของรอยโรครอบปลายรากฟันอย่างสมบูรณ์

 

References

Siqueira JF, Jr. Aetiology of root canal treatment failure: why well-treated teeth can fail. Int Endod J. 2001;34(1):1-10.

Friedman S, Stabholz A. Endodontic retreatment--case selection and technique. Part 1: Criteria for case selection. J Endod. 1986;12(1):28-33.

Bradford R.Johnson MIF, and Louis H.Berman. Periradicular surgery. In: Hargreaves KM, Berman LH, Rotstein I, Cohen S, editors. Cohen's pathways of the pulp. Twelth edition. St. Louis, Missouri: Elsevier; 2021. p. 433.

Smitha K, Smitha GP. Alveolar exostosis – revisited: a narrative review of the literature. Saudi J Dent Res. 2015;6(1):67-72.

Matthews DC, Sutherland S, Basrani B. Emergency management of acute apical abscesses in the permanent dentition: a systematic review of the literature. J Can Dent Assoc. 2003;69(10):660.

Kim S, Kratchman S. Modern endodontic surgery concepts and practice: a review. J Endod. 2006;32(7):601-23.

Tsesis I, Faivishevsky V, Kfir A, Rosen E. Outcome of surgical endodontic treatment performed by a modern technique: a meta-analysis of literature. J Endod. 2009;35(11):1505-11.

Urolagin S, Kale T, Patil S. Intraoral Incisions, design of flaps and management of soft tissue. Guident. 2010:57-61.

Stanley F Malamed D. Clinical action of specific agents. In: Stanley F Malamed D, editor. Handbook of Local Anesthesia. seventh edition. South Asia: Elsevier Health Sciences; 2019. p. 59, 213-4

Shillingburg HT HS, Whitsett LD, Jacobi R, Brackett SE. Preparations for extensively damaged teeth. In: Shillingburg HT, editor. Fundamentals of fixed prosthodontics. 3rd ed ed. Chicago: Quintessence Pub. Co. Chicago; 1997. p. 191-2.

Yildirim T, Er K, Taşdemir T, Tahan E, Buruk K, Serper A. Effect of smear layer and root-end cavity thickness on apical sealing ability of MTA as a root-end filling material: a bacterial leakage study. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod. 2010;109(1):e67-e72.

Chong BS, Ford TRP. Root‐end filling materials: rationale and tissue response. Endod Topics. 2005;11:114-30.

Torabinejad M, Pitt Ford TR. Root end filling materials: a review. Dent Traumatol. 1996;12(4):161-78.

Romanos GE. Periosteal releasing incision for successful coverage of augmented sites. a technical note. J Oral Implantol. 2010;36(1):25-30.

Griffin TJ, Hur Y, Bu J. Basic suture techniques for oral mucosa. Clin adv periodontics. 2011;1(3):221-32.

Ramachandran Nair PN, Pajarola G, Schroeder HE. Types and incidence of human periapical lesions obtained with extracted teeth. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol Endod. 1996;81(1):93-102.

Schulz M, von Arx T, Altermatt HJ, Bosshardt D. Histology of periapical lesions obtained during apical surgery. J Endod. 2009;35(5):634-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-16

How to Cite

สัลเลขวิทย์ ท. ., โอศิริ ผ. ., & สกุลภาพทอง อ. . (2023). การทำศัลยกรรมปลายรากฟันร่วมกับการจัดการ ปุ่มกระดูกส่วนงอกของขากรรไกรที่มีขนาดใหญ่: รายงานผู้ป่วย. วารสารเอ็นโดดอนติกส์ไทย, 2(2), 85–96. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/thaiendod/article/view/1704