การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศิริประภาพร บุญคง Rajabhat Maha Sarakham University
  • ศิริวดี วดีศิริศักดิ์
  • พูนศักดิ์ ศิริโสม
  • ณิฏะญาร์ บรรเทา
  • ปรมาภรณ์ แสงภารา
  • วริดา พลาศรี

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, การป้องกัน, การเฝ้าระวัง

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อโควิด-19 การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันและการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 - มีนาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 คน อายุระหว่าง 18 - 69 ปี วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานด้วยสถิติทดสอบ t-test F-test ผลจากการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ของกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 251 คน (ร้อยละ 62.75) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศพบว่า เพศชายเคยติดเชื้อจำนวน 83 คน (ร้อยละ 33.07) ซึ่งน้อยกว่าเพศหญิงที่เคยติดเชื้อจำนวน 168 คน (ร้อยละ 66.93) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวน 149 คน (ร้อยละ 37.35) เป็นเพศหญิงจำนวน 111 คน (ร้อยละ 74.50) เพศชายมีจำนวน 38 คน (ร้อยละ 25.50)
การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันและการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 พบว่า กลุ่มอาชีพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันและการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 พบว่าคือ ทัศนคติด้านผลกระทบ ทัศนคติด้านการเฝ้าระวัง ทัศนคติด้านการติดโรคโควิด-19 ทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และทัศนคติด้านการป้องกัน ตามลำดับ โดยมี
ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R Square) เท่ากับ 0.597 สามารถเขียนสมการถดถอยพหุคูณได้ ดังนี้ 

gif.latex?\hat{Y}=&space;0.971+0.067X_{6}+0.103X_{7}+0.148X_{8}+0.173X_{9}+0.296X_{10}

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

BBC NEWS ไทย. โคโรนา: อนามัยโลกตั้งชื่อ "โควิด-19" ให้โรคทางเดินหายใจจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/

features51473472?fbclid=IwAR36AbM8MzANLo77fkkjKiDUUyv4-Y3XKpFbYTd3Ntls_2CHslX3_ZMWcKY

WORKPOINTNEWS. ยืนยันตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั้งหมดในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.workpointnews.com/?fbclid=IwAR1UEJ0xzpmRfdNPtEO8xphPoK2KSv3CZHIlI92PwjL7uOMQRNc_G2UHNh8

เจาะลึกระบบสาธารณสุข. เปิดข้อมูลผู้สูงอายุช่วงวัยไหน หากติดเชื้อโควิด-19 เสี่ยงเสียชีวิตสูง! [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.or

สุรชัย โชคครรชิตไชย. บรรณาธิการแถลง: การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในประเทศไทย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; ปีที่ 10 ฉบับที่ 1.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

Hinkle D.E, William W, Stephen G.J. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. NY: Houghton Mifflin; 1998.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

จิราพร พิลัยกุล. พัฒนารูปแบบการคัดกรองจุดแรกรับผู้ป่วย COVID-19 และเพื่อจัดการความรุนแรงของโรคภายในจังหวัดมหาสารคามและเครือข่าย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; ปีที่ 16 ฉบับที่ 1: 193-206.

สุรีย์พร พันพึ่ง. วิกฤตโควิด-19 กับความเป็นเมือง. ประชากรและการพัฒนา สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 2564; ปีที่ 42 ฉบับที่ 1.

ตวงพร กตัญญุตานนท์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564; ปีที่ 7 ฉบับที่ 1: 8-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023