การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข : บทเรียนจากการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโรค COVID - 19 จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ เอี่ยมสอาด Rayong Provincial Public Health Office
  • เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน, ถอดบทเรียน, COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขจังหวัดระยอง โดยถอดบทเรียนจากกระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในการรับมือโรค COVID- 19 ของจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของจังหวัดระยอง  ใช้รูปแบบSCRIBEN-V  Model Rayong ซึ่งเพิ่มความเข้มข้นในการคัดกรอง การฉีดวัคซีนและการตรวจ ATK ในสถานประกอบการทุกสัปดาห์ เพื่อสกัดกั้นโรค และนำเข้าการกักกันแบบ Bubble and sealโดยยึดหลัก 2P2R ซึ่งเน้นการตอบโต้ตามบริบทของพื้นที่มี 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การทดลองใช้/สังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ส่วนกระบวนการและการบริหารจัดการสถานการณ์ด้านสาธารณสุขในการรับมือโรค COVID -19 จังหวัดระยอง มีระบบและการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินผ่านกลไกศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) ที่เป็นรูปแบบมาตรฐานสากล ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีระบบการเฝ้าระวัง ควบคุมโรค  ระบบข้อมูลสารสนเทศ การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน กำลังคน การเงินการคลังด้านสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีเอกภาพและเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วน สำหรับ อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS) โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ามามีบทบาท เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯทุกระดับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแล รักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก :https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_health_care.php

Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Zhang L, et al. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet 2020; 395: 497-506.

Pongpirul WA, Pongpirul K, Ratnarathon AC. Journey of a Thai taxi driver and novel coronavirus. N Eng J Med 2020; 382:1067-8.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

World Health Organization. Health emergency and disaster risk management framework. [Internet]. 2019 [cited 2020 April 18].Availablefrom https://www.who.int/hac/techguidance/preparedness/health-emergency-and-disaster-risk-management-framework-eng.pdf?ua=1

อนุตรา รันน์นราทร. รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน.สถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2) :116-123.

วีกิพีเดีย. การระบาดทั่วของโควิด-19 ทั่วประเทศไทย 1 พฤษภาคม 2563 [อินเทอร์เน็ต].2564.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม2564]เข้าถึงได้จาก:https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วโควิด-19 ทั่วประเทศไทย

ดร.ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. สารานุกรมการบริหารและการจัดการ (7S Model) . [อินเทอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://drpiyanan.com.

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ.แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564-2570. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566].เข้าถึงได้จาก:https://dmcrth.dmcr.go.th

World Health Organization. Toolkit for assessing health-system capacity for crisis management [Internet]. 2012 [cited 2021 Feb 6]. Available from: https://www.euro. who.int/__data/assets/pdf_file/0010/157888/ e96188.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค พ.ศ.2559 – 2564 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. รายงานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2563; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. 2563. หน้า 1-5.

Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University; 1988.

ศรุต ไทยทอง. การจัดการโรคโควิด 2019 ที่อำเภอวังเจ้า. [อินเทอร์เน็ต].2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566].เข้าถึงได้จากhttps://www.tako.moph.go.th/d4598aff5705f74b507f75b77bb1b535.pdf

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในประเทศไทย.ว.สถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2) :92-103.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดีและคณะการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงพิณ อ.เมือง จ.อุดรธานี.ว.วิชาการสาธารณสุข ปีที่2564;30:55-206.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023