ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา Azithromycin และ Doxycycline ที่ให้ร่วมกับยา Ceftriaxone ในการรักษาโรคหนองในแท้และหนองในเทียม : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก ปะดุกะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

หนองใน, หนองในเทียม, Azithromycin, Doxycycline, Ceftriaxone, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบ Clinical cure, Treatment failure และ Adverse effect ของยา Azithromycin และ Doxycycline ที่ให้ร่วมกับยา Ceftriaxone ในการรักษาโรคหนองในและหนองในเทียม 2) เพื่อเปรียบเทียบ Microbiological cure ของยา Azithromycin และ Doxycycline ที่มีต่อเชื้อก่อโรคหนองในเทียม 3) เพื่อศึกษากระบวนการหรือแนวทางในการดูแลรักษาโรคหนองในและหนองในเทียมที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ และลดการกลับเป็นซ้ำ ในผู้มารับบริการและคู่สัมผัส โดยการศึกษาเป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ วิธีการศึกษาโดยการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2566 บนฐานข้อมูล PubMed, ScienceDirect, Google Scholar, ThaiJo, CUIR และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รวมถึงสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรมของรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้คำสำคัญในการสืบค้น คัดเลือกงานวิจัยรูปแบบ Randomized controlled trials (RCT) พบงานวิจัยทั้งหมด 137 เรื่อง และมี 4 เรื่อง ที่ผ่านการประเมินคุณภาพงานวิจัยตามเครื่องมือ The Cochrane Collaboration’ s tool for assessing risk for bias

ผลการวิจัยพบว่า มีงานวิจัย 4 เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา Azithromycin และ Doxycycline ในการรักษาโรคหนองในเทียม จากการศึกษาพบว่าการใช้ยา Doxycycline 100 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน มีประสิทธิผลมากกว่า Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว สำหรับการให้ร่วมกับยา Ceftriaxone ในการรักษาโรคหนองในและหนองในเทียม โดยที่ Doxycycline มี Clinical cure และ Microbiological cure ที่สูงกว่า Azithromycin สำหรับเชื้อ Chlamydia trachomatis ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่ของหนองในเทียม การเลือกใช้ยา ควรพิจารณาจากบริบทของผู้ป่วยและคู่สัมผัส เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และลดการกลับเป็นซ้ำ

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค ๕๐๖ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/ surdata/index.php

Rossaphorn.k, Supachoke K. Treatment guidelines for Gonococcal, 2019 Division of AIDS and STIs, Department of Disease Control [Internet]. Bangkok: AKSORN GRPHIC AND DESIGN PUBLISHING; 2019 [cited 2023 Mar 15]. Available from: http://utoapp.moph.go.th/e_doc/views/uploads/5e4cbc41b41a702413010285f714b066770cc26dc5677-779.pdf

St Cyr S, Barbee L, Workowski KA, Bachmann LH, Pham C, Schlanger K, et al. Update to CDC’s treatment guidelines for gonococcal infection, 2020 [Internet]. [cited 2022 Oct 1]. Available from: https://doi.org/10.15585/mmwr.mm6950a6

สถาบันวิจัยและประเมินผลเทคโนโลยีทางการแพทย์. คู่มือการประเมินคุณภาพเอกสารงานวิจัย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/doc20190110.pdf

Schwebke JR, Rompalo A, Taylor S, Seña AC, Martin DH, Lopez LM, et al. Re-evaluating the treatment of nongonococcal urethritis: emphasizing emerging pathogens - a randomized clinical trial. Clin Infect Dis 2011;52(2):163-70.

Manhart LE, Gillespie CW, Lowens MS, Khosropour CM, Colombara DV, Golden MR, et al. Standard treatment regimens for nongonococcal urethritis have similar but declining cure rates: A randomized controlled trial. Clin Infect Dis 2013;56(7):934-42.

Dombrowski JC, Wierzbicki MR, Newman LM, Powell JA, Miller A, Dithmer D, et al. Doxycycline Versus Azithromycin for the treatment of rectal chlamydia in men who have sex with men: A randomized controlled trial. Clin Infect Dis 2021;73(5):824-31.

Lau A, Kong FYS, Fairley CK, Templeton DJ, Amin J, Phillips S, et al. Azithromycin or Doxycycline for asymptomatic rectal Chlamydia trachomatis. N Engl J Med 2021;384(25):2418-27.

Aoki T, Mizushima D, Takano M, Ando N, Uemura H, Yanagawa Y, et al. Efficacy of 1 g Ceftriaxone monotherapy compared to dual therapy with Azithromycin or Doxycycline for treating extragenital gonorrhea among men Who have sex with men. Clin Infect Dis 2021;73(8):1452-58.

Singh AE, Gratrix J, Martin I, Friedman DS, Hoang L, Lester R, et al. Gonorrhea treatment failures with oral and injectable expanded spectrum cephalosporin monotherapy vs dual therapy at 4 canadian sexually transmitted infection clinics, 2010-2013. Sex Transm Dis 2015;42(6):331-6.

Savaris RF, Teixeira LM, Torres TG, Edelweiss MI, Moncada J, Schachter J. Comparing Ceftriaxone Plus Azithromycin or Doxycycline for pelvic inflammatory disease. [Internet]. 2007 [cited 2023 Aug 7]; 110(1):53-60. Available from: https://journals.lww.com/greenjournal/Abstract/2007/07000/Comparing_Ceftriaxone_Plus_Azithromycin_or.11.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2024