การสำรวจการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ป่วยวัณโรคปอด จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ป่วยวัณโรคปอด จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่กำลังรักษาวัณโรคและรับประทานยาเกิน 2 สัปดาห์ อายุ 18-90 ปี โรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช 24 แห่ง 355 ราย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แสดงข้อมูลเป็นความถี่และร้อยละผลการศึกษาพบว่าเป็นเพศชาย 254 ราย (71.50%) อายุเฉลี่ย 49.50 ปี (S.D. ± 30.83) สัญชาติไทย 354 ราย (99.72%) การศึกษา: ประถมศึกษา 162 ราย (45.63%) อาชีพ: รับจ้าง 86 ราย (24.23%) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับช่องทางการติดต่อโดยคิดว่าหายใจเอาอากาศที่มีละอองเสมหะปนเปื้อนเชื้อทำให้ติดวัณโรคสูงที่สุด 287 ราย (80.85%) สัมผัสใกล้ชิดโดยแตะเนื้อต้องตัวไม่ติดวัณโรค 143 ราย (40.28%) ใช้ห้องน้ำร่วมกันไม่ติดวัณโรค 136 ราย (38.31%) ผู้ป่วยที่ทราบว่าไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่น หลังจากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมาแล้วนาน 2 สัปดาห์ 63 ราย (17.75%) ผู้ป่วยตีตราตนเอง 265 ราย (74.65%) มากที่สุดคือพยายามลดการพบปะผู้คน การเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยจากครอบครัวผู้ป่วยเคยถูกสมาชิกในครอบครัวขอให้แยกห้องนอนและแยกรับประทานอาหารคนเดียวระหว่างป่วย 171 ราย (48.16%) ในสถานที่ทำงานเคยถูกย้ายให้ไปทำงานแผนกที่ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า/พนักงานคนอื่น ๆ 17 ราย (13.18%) ถูกหัวหน้า/เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลสั่งให้สวมหน้ากากอนามัยมาทำงาน 17 ราย (13.18%) และให้ออกจากงานเนื่องจากเป็นวัณโรคปอด 7 ราย (5.42%) ผู้ปฏิบัติงานบริการสุขภาพ มีการหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยวัณโรค 34 ราย (9.58%) แสดงท่าทีกลัว/รังเกียจผู้ป่วย 33 ราย (9.30%) ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบุคคลทั่วไป เพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ป่วยวัณโรคปอด
References
Word Health Organization. Global tuberculosis report 2021. Geneva, Switzerland: WHO; 2021.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
Deribew A. et al. Prejudiceand misconceptions about tuberculosis and HIV in rural and urban communities in Ethiopia: A challenge for the TB/HIV control program. BMC public health, 2010; 10:400. Available from: https://doi.org/10.1186/1471-2458-10-400
เนตรธิดา บุนนาค. กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sdgmove.com/2021/07/15/sdg-vocab-33-discrimination/
จิราภรณ์ ชูวงศ์. กลยุทธ์การลดการตีตราของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ในชุมชน จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2561;1(2):256-66.
Fauk NK, Hawke K, Mwanri L, Ward PR. Stigma and discrimination towards people living with HIV in the context of families, communities, and healthcare settings: a qualitative study in Indonesia. Int J Environ Res Public Health [Internet]. 2021 [Cited 2021 May 27]; Available from: https://scholar.google.co.th/scholar?hl=th&as_sdt=0%2C5&q=Nelsensius+Klau+Fauk+&btnG
Mawey FM, Karimah A, Kusmiat T. Workplace interventions to overcome stigma and depression in patients with Multiple drug - resistant tuberculosis (MDR TB). Bali Med. J. [Internet]. 2023 [Cited 2021 May 27]; Available from: https://balimedicaljournal.org/index.php/bmj/article/view/4287
วรรัตน์ อิ่มสงวน, สุธีรัตน์ ท้าวถึง, ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ, จินตนา งามวิทยาพงศ์. ความรู้ การตีตราและประสบการณ์ของแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับวัณโรคและการสำรวจวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัส. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/
dspace/handle/11228/4814