การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนในพื้นที่อัตราชุกต่ำและอัตราชุกสูง เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา สิมมาทัน
  • วนิดา อินทรสังขาร์
  • คณยศ ชัยอาจ -

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พื้นที่อัตราชุกต่ำและอัตราชุกสูง, โรคพยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่อัตราชุกต่ำและอัตราชุกสูงเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่าง 1,132 คน แบ่งเป็นพื้นที่อัตราชุกต่ำ 566 คน และพื้นที่อัตราชุกสูง 566 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-square) นำเสนอจำนวน ร้อยละ และค่า p-value ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อัตราชุกต่ำและอัตราชุกสูง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.80 และ 71.20 อายุเฉลี่ย 55.24 ปี (S.D.=9.49) และ 55.61 ปี (S.D.=10.43) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 60.78 และ 57.07 ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 52.83 และ 62.01 และความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับระหว่างพื้นที่อัตราชุกต่ำและอัตราชุกสูงภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.007) ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุขและทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมแก่ประชาชน พัฒนาเป็นข้อเสนอแนะ                     เชิงนโยบายโดยผสมผสานให้สอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชน และให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่จะทำให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอต่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

References

มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี. สถิติและอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน2566]. เข้าถึงได้จาก: http://cca.in.th/wpth/key-statistics/

ประเสริฐ ประสมรักษ์. เปรียบเทียบความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ความรู้ และพฤติกรรมป้องกันในประชากรกลุ่มเสี่ยงพื้นที่รอบแหล่งน้ำชุมชนชนบทและชุมชนเมือง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562; 34(6): 628 – 34.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559–2568. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรทหารผ่านศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

มหาวิทยาลัยขอนแก่นและภาคีเครือข่าย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางทางการดำเนินงานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในปีพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาตามยุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559 – 2568. พิมพ์ครั้งที่ 2. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]; 2559.

บวรพิพัฒน์ กระแสเสน ,จุฬาภรณ์ โสตะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 12(2): 91 – 103.

เดชา วรสาร. การดำเนินป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแบบมีส่วนร่วม ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2563; 5(3): 99 – 104.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี พ.ศ. 2564 กองโรคติดต่อทั่วไป (Annual Report 2021). นนทบุรี : กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. สรุปผลการดำเนินงานโครงการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ครบ 70 ปี ในพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; [ม.ป.ป.].

กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์, นารีรมย์ รัตนสัมฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.

อังษณา ยศปัญญา, สุพรรณ สายหลักคำ, บุญจันทร์ จันทร์มหา, เกษร แถวโนนงิ้ว. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดเลย ปี 2566. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 2558; 22(1): 89 – 97.

รัชนีกร กุญแจทอง, สุมาลี จันทลักษณ์ , ศุจินนท์ ตรีเดช, สมจิตร พันธุโพธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. วารสารควบคุมโรค. 2564; 47(2): 191 - 202.

เกษตร ปะทิ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหนอนพยาธิของประชาชน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2559. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 2560; 12(4): 36–42.

ถาวร ทุมสะกะ, สุชาดา ภัยหลีกลี้. ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(4): 481 – 94.

สุกัญญา โปธาพันธ์, สุนิภา อินเอี่ยม, ธันยพร ชมชะนะกุล, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับระหว่างชุมชนเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุข. 2564; 4(1): 119 – 129.

รัชนีกร กุญแจทอง, สุมาลี จันทลักษณ์, คณยศ ชัยอาจ. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2563; 27(1): 73 - 85.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Kevin M. Sullivan. Sample Size for a Proportion [Internet]. 2003 [Cited 2023 September 20]. Available from: https://www.openepi.com/PDFDocs/SSProporDoc.pdf

ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนารา, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2562; 11(1): 31-57.

ธนากร วรัมพร, ยุวดี สาระพันธ์, สุนิศา แสงจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 บ้านซับถาวร ตำบลไทยอุดม อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(2): 16-30.

นิธิรัตน์ บุญตานนท์, ศินาท แขนอก, นารีรัตน์ สุรพัฒนชาติ. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2562; 13(30): 1-14.

ธนกร จันทาคึมบง . การประยุกต์โปรแกรมการเรียนรู้โดยชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของกลุ่มเสี่ยงอายุ 15-65 ปี อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระดับ 3. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2565; 32(1): 86-101.

อรทัย พรมแก้ว, มาลัยพร ล้วนศรี, รุ่งศิริรัตน์ ครองยุติ, วรางคนา ใจสู้ศึก. การศึกษาความรู้ความตระหนักและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของประชากรในเขตหมู่บ้านคำนางรวยใต้หมู่ 7 ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2565; 28(1): 5-15.

ศักดิ์ชัย กามโร, รุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีของญาติผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2559; 22(2): 5-18

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023